เฮ้!สวัสดีทุกคน นี่เป็นครั้งแรกของเราที่ได้มาเขียนบล็อก(ที่อาจารย์สั่งT_T)รู้สึกตื่นเต้นนิดๆเนอะ ว่ามั้ย? ในส่วนบล็อกของเราจะนำเสนอทุกคนเกี่ยวกับเพลงกันค่ะ ส่วนมากที่เอามาเนี่ยจะเป็นเพลงสากลซะหมด อย่าเพิ่งเบื่อกันนะ!!! เพราะเราไม่ได้รีวิวมันซะอย่างเดียวแต่เราจะแปลมันด้วย เพื่อที่ทุกคนจะได้เข้าใจความหมายของเพลงที่จะสื่อออกมาอย่างลึกซึ้ง เอาหล่ะ!แต่ก่อนที่จะมาฟังเพลงกัน เรามาลองมาทำความรู้จักกับแนวเพลงกันก่อนดีกว่า คงจะสงสัยกันใช่ไหม?ที่ว่า…เอ๋?เพลงที่เราฟังกันอยู่นี่มันเป็นเพลงแนวไหนกันนะ? อย่ารอช้า!!ตามมาดูกันดีกว่าค่ะ
- Classical
เพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีของตะวันตก เป็นเพลงที่สื่ออารมณ์ของผู้ประพันธ์ มาสู่บทเพลง ซึ่งผู้ที่เล่นจะสื่ออารมณ์ออกมาแทนผู้ประพันธ์หรือเพื่อแสดงอารมณ์ของตัวผู้เล่นเองโดยมักจะเป็นเพลงที่บรรเลงไม่มีคำร้อง เช่น Orchestra เป็นต้น
2.Jazz
เป็นลักษณะของดนตรีชนิดหนึ่งที่พัฒนามาจากกลุ่มคนผิวดำในสหรัฐอเมริกา (African Americans) โดยมีลักษณะพิเศษคือโน้ตบลูส์ การลัดจังหวะ จังหวะสวิงการโต้และตอบทางดนตรี และการเล่นสด โดยแจ๊สถือเป็นลักษณะดนตรีคลาสสิกชนิดหนึ่งของสหรัฐอเมริกา
3.Blues
เกิดจากสภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของคนดำที่หลั่งไหลเข้าสู่สหรัฐอเมริกาเพื่อมาเป็นทาส สภาพชีวิตที่คับแค้นของพวกเขาได้ถูกนำเสนอผ่านบทเพลง ลักษณะเฉพาะของเพลงบลูส์ถูกวางด้วยด้วยรากฐานจากความ เจ็บปวดแร้นแค้น ทุกข์ทรมาน ของชีวิต เนื้อเพลง และสำเนียงของบลูส์จึงแฝงความเจ็บปวดคล้ายการสะอึกสะ อื้นเวลาร้องให้ จึงใช้แสดงอารมณ์เศร้าได้ดี นอกจากนั้น เรื่องของจังหวะ (rhythm) ของบลูส์ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ และเป็นแบบแผนนำไปสู่ดนตรีรูปแบบอื่นมากมาย เช่น ฟังค์,โซลฟังค์,ริทึ่ม แอนด์ บลูส์, ร็อก แอนด์ โรล เป็นต้น
4.Soul
เป็นแนวเพลงประเภทหนึ่งที่รวมกันระหว่างอาร์แอนด์บีและกอสเปล กำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกาจากร็อกแอนด์โรลฮอลล์ออฟเฟม โซลมีความหมายว่า “ดนตรีที่เกิดขึ้นโดยคนผิวสี ในอเมริกา ที่เปลี่ยนรูปจากกอสเปลและอาร์แอนด์บี ในจังหวะที่สนุกสนาน โดยไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับทางศาสนา” การแสดงจะผ่านทางอารมณ์ และเมโลดี้มีการตกแต่งในลักษณะคีตปฏิภาณ นอกจากนี้ยังใช้ซาวด์แบบวนและเป็นเครื่องเสริม จังหวะที่ติดหู อาจมีการตบมือประกอบ องค์ประกอบอีกอย่างของโซลที่เรียกว่า call and response ที่เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่าง นักร้อง กับคอรัส โดยเฉพาะเสียงที่ตึง
5.Punk
เป็นดนตรีแนวคิดต่อต้านและหัวรุนแรง ดังนั้นการแสดงออกของเหล่า Punk ทั้งหลายจะออกมาในลักษณะประชดประชัน และมีความรุนแรงแฝงอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตัว ที่สวนกระแสของคนในสังคม การเสพยา และแอลกอฮอลในปริมาณมาก เพื่อประชดประชัน การแสดงออกที่รุนแรงในเวลาที่มีการแสดงคอนเสิร์ต และอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้ Punk ไม่เป็นที่ชื่นชอบนักของคนในสังคม
6.Rock
เป็นดนตรีที่เน้นไปทางกีต้าร์ไฟฟ้าเป็นหลัก มักจะเป็นส่วนหนึ่งของวงดนตรีร็อกที่มีกีตาร์เบสไฟฟ้าและกลอง วงร็อกส่วนใหญ่ประกอบด้วย สมาชิกที่เล่นกีตาร์ไฟฟ้า นักร้องนำ กีตาร์เบสและกลอง ก่อตั้งเป็นวง 4 ชิ้น มีบางวงที่มีสมาชิกน้อยกว่าหรือมากกว่า ตำแหน่งเล่นดนตรีบางคนก็ทำหน้าที่ร้องก็มี
7.Pop
แนวเพลงที่ฟังแล้วรู้สึกร่าเริง สดใส มันจะรู้สึก ป๊อบๆ อยู่ข้างใน ซึ่งจะไม่ค่อยจำกัดเครื่องดนตรีที่ใช้ซักเท่าไหร่นัก
8.Country
เป็นแนวเพลงที่ได้รับความนิยมเกิดในแถบสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้และทางภูเขาแอพพาลาเชียนมีต้นกำเนิดจากดนตรีโฟล์ก, ดนตรีเคลติก, ดนตรีกอสเปล และดนตรีโอลด์-ไทม์ และพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษ 1920 คำว่า “คันทรี” เริ่มใช้กันในยุคทศวรรษ 1940
9.Reggae
เป็นแนวดนตรีแอฟริกัน-แคริบเบียน ซึ่งพัฒนาขึ้นบนหมู่เกาะจาไมก้า และมีความชิดใกล้เชื่อมต่อกับลัทธิรัสตาฟาเรียน (Rastafarianism) รากดั้งเดิมของเร้กเก้สามารถค้นหาได้จากดนตรีเทรดิชั่นหรือประเพณีนิยมของแอฟริกัน-แคริบเบียนที่มีพอๆ กับดนตรีจังหวะแอนด์บลูส์ของอเมริกัน
10.Hip-Hop
เน้นด้วยการทำให้คนรู้สึกอยากลุกขึ้นมาเต้น เพราะ Hip-Hop ฟังแล้วเข้าถึงอารมณ์จริงๆ ก็จะแค่ขยับแขนขาตามจังหวะนิดหน่อยเท่านั้น Hip-Hop มักจะใช้ Sound Effect เป็นเครื่องดนตรี แต่สิ่งที่ Hip-Hop เน้นจริงๆคือ น้ำเสียงและการร้องของตัวนักร้องเอง ที่จะร้องเป็นจังหวะ และใช้คำที่สัมผัสกันเป็นเนื้อ
จบกันไปแล้วค่ะกับแนวเพลงง่ายๆที่คุณควรรู้จัก เห็นมั้ยล่ะ? ไม่ยากเท่าไรเลย เราหวังว่าทุกคนคงไม่หนีเราไปก่อนนะ ในเนื้อหาบล็อกแรกอาจจะมีสาระไปนิดนึงจนอาจทำให้ทุกคนเบื่อ แต่สิ่งที่เราจะบอกก็คือเพลงนั้นเกิดมาได้จากผู้แต่งที่ต้องการถ่ายทอดอารมณ์ให้ผู้ฟังรู้สึกคล้อยตามหรือเข้าใจในสิ่งที่ผู้แต่งกำลังรู้สึกอยู่นั้นเองค่ะบล็อกหน้าเราจะมาเข้าสู่เพลงกันแล้วนะคะ อดทนรอสักหน่อย เราสัญญาว่าจะลงในเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้แน่นอนค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อเราก่อนนะ
ขอขอบคุณ https:/th.wikipedia.org ที่มีข้อมูลต่างๆมาให้ทุกคนได้มาอ่านกัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น