ตำนานเทพเจ้ากรีก

homepage



ตำนานเทพเจ้ากรีก




                                                            ตำนานเทพเจ้ากรีก

                                                           1.    เซนต์วานเลนไทน์

    วันวาเลนไทน์ กำเนิดขึ้นมาในกรุงโรม หรืออาณาจักรโรมัน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ในช่วงยุคของจักรพรรดิคลอดิอุส ที่สอง (Claudius II) เดิมทีจักรพรรดิคลอดิอุสมีนิสัยชอบข่มเหงรังแกผู้อื่น เขามักบังคับให้ชาวโรมันทุกคนต้องสักการะพระเจ้าทั้ง 12 องค์ ใครคิดต่อต้านจะได้รับทำโทษ นอกจากนี้ ยังห้ามไม่ให้เกี่ยวข้องกับพวกคริสเตียนด้วย ทั้งนี้ มีนักบุญผู้หนึ่งที่ชื่อว่า วาเลนตินุส (Valentinus) เขาเกิดความเลื่อมใสศรัทธาต่อพระคริสเป็นอย่างมาก ถึงขนาดให้คำไว้ว่า ความตายหรือสิ่งใดไม่มีทางเปลี่ยนแปลงความคิดของเขาได้ ด้วยการต่อต้านครั้งนี้ จึงทำให้เขาถูกขังคุก
ก่อนที่เขาสิ้นชีวิต ในช่วงอาทิตย์สุดท้ายได้เกิดสิ่งแปลกประหลาดขึ้นกับเขา โดยขณะที่กำลังถูกคุมขังอยู่นั้น ผู้คุมขังได้ร้องขอให้วาเลนตินุสช่วยสอนจูเลียผู้เป็นลูกสาวที่ตาบอดตั้งแต่เกิด แม้ว่าจูเลียจะเป็นหญิงงาม แต่ก็อาภัพมองไม่เห็น วาเลนตินุสจึงได้สอนประวัติศาสตร์ สอนการคิดคำนวณ และเล่าเรื่องพระเจ้าให้เธอฟัง ด้วยความฉลาดของจูเลีย เธอจึงสามารถรับรู้สิ่งต่าง ๆ ในโลกนี้ได้อย่างถ่องแท้  และเธอก็รู้สึกเชื่อใจในตัววาเลนตินุส และมีความสุขอย่างมากเมื่ออยู่กับเขา
วันหนึ่ง จูเลียเอ่ยถามวาเลนตินุสว่า “หากเราอธิษฐานต่อพระผู้เป็นเจ้า ท่านจะทรงได้ยินเราไหม” วาเลนตินุสจึงตอบไปว่า “พระองค์เจ้าได้ยินเราทุกคนแน่นอน” จูเลียจึงกล่าวต่อว่า “ท่านทราบหรือไม่ ในทุก ๆ เช้า ทุก ๆ เย็น ข้าทูลอธิษฐานขออะไร….ข้าต้องการอยากจะมองเห็นโลกใบนี้ และเห็นทุก ๆอย่างที่ท่านเล่าให้ฟัง” วาเลนตินุสจึงตอบกลับไปว่า “พระเจ้าย่อมมอบแต่สิ่งที่ดีที่สุดให้แก่ทุกคน แต่ต้องมีความเชื่อมั่นในพระองค์เท่านั้นเอง
ด้วยความเชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า จูเลียจึงนั่งคุกเข่าและกุมมืออธิษฐานขอพรไปพร้อมๆกับวาเลนตินุส และในขณะนั้นเอง ก็เกิดสิ่งมหัศจรรย์ขึ้น มีแสงสว่างลอดเข้ามาในคุก และเมื่อจูเลียค่อย ๆลืมตาขึ้น เธอก็สามารถมองเห็นได้!!!!! ทั้งสองกล่าวขอบคุณในเรื่องมหัศจรรย์ที่พระเจ้ามอบให้ และเรื่องนี้ก็เป็ที่พูดถึงกันไปทั่วทั้งราชอาณาจักร
ในราตรีก่อนที่วาเลนตินุสจะเสียชีวิตจากการถูกตัดศีรษะ เขาได้ส่งจดหมายฉบับสุดท้ายให้แก่จูเลีย ซึ่งลงท้ายจดหมายว่า “From Your Valentine” วาเลนตินุสเสียชีวิตในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 270 และศพของวาเลนตินุสถูกเก็บไว้ในโบสถ์พราซีเดส (Praxedes) ที่กกรุงโรม ใกล้หลุมศพนั้น จูเลียได้ปลูกต้นอามันต์ หรืออัลมอลต์สีชมพู เอาไว้เพื่อมอบแต่วาเลนตินุสผู้เป็นที่รัก จนทุกวันนี้ ต้นอามันต์สีชมพูจึงกลายเป็นตัวแทนแห่งความรักนิรันดร์และมิตรภาพอันแสนยาวนาน
                                                          2. เทพีไนกี้ (Nike) เทพีแห่งชัยชนะ

    เทพีไนกี้ (Nike) นับถือกันมาตามตำนานเทพปกรณัมกรีก เทพีไนกี้เป็นเทพแห่งชัยชนะ ตามตำนานกล่าวกันว่า นางเป็นธิดาของเทพพาลลัส (Pallas) ซึ่งเป็นเทพแห่งสติปัญญาและการสู้รบ และเทพีสติกซ์ (Styx) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความริษยา และความอาฆาต เทพีไนกี้มีพี่น้องเป็นเทพคราตอส (Cratos) ผู้เป็นเทพแห่งพละกำลัง เทพีไบอา (Bia) ผู้เป็นเทพีแห่งความรุนแรง และเทพซีลุส (Zelus) ผู้เป็นเทพแห่งการต่อสู้
ตามตำนานเทพ เหล่าพี่น้องของเทพีไนกี้ เป็นเทพผู้รับใช้ของเทพซุส (Zeus) เรื่องเล่ากล่าวไว้ว่า เทพีสติกซ์จะนำพวกนางมาช่วยสู้ศึกกับยักษ์ไททัน โดยมีเทพีไนกี้เป็นผู้ขับรถม้าศึก จากภาพจะมักปรากฏในผลงานด้านศิลปกรรมคลาสสิก ส่วนพระนามในตำนานเทพปกรณัมโรมันของเทพีไนกี้ มีชื่อว่า เทพีวิคตอเรีย (Victoria)
    ปีกของเทพีไนกี้เป็นสัญลักษณ์ อันแสดงถึงลักษณะอันว่องไวของชัยชนะเทพีไนกี้ได้รับการบูชานับถือร่วมกับเทพีอะธีน่า (Athena) ผู้มีความเกี่ยวข้องอย่างสนิทสนมหลังจากได้รับชัยชนะเหนือชาวเปอร์เชียน ในช่วง 490 ปีก่อนคริสตกาล ในสงครามแห่งกรุงมาราธอน (Battle of Marathon) กล่าวกันว่า รูปปั้นของเทพีอาธีน่าแห่งพาร์ธีนอสที่อยู่ในวิหารพาร์ธีนอน (Parthenon) กรุงเอเธนส์ (Athens) จะมีเทพีไนกี้ยืนอยู่บนมือของนางด้วย นอกจากนี้ ศูนย์กลางของวิหารพาร์ธีนอน ยังเป็นจุดรวมสถานศักดิ์สิทธิ์แห่งเทพีอาธีน่า ไนกี้ ไว้ด้วยกัน โดยเชื่อกันว่า สถานศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ถูกสร้างมาก่อนปีคริสตกาลราว 410 ปี อีกทั้งที่เมืองเดลฟี (Delphi) ชาวเอเธนส์ยังมีรูปปั้นของเทพีไนกี้อยู่อีกด้วย
    ปัจจุบัน เทพีไนกี้ได้รับความยกย่องโดยใช้เป็นชื่อและโลโก้ของผลิตภัณฑ์การกีฬายี่ห้อดังในสหรัฐอเมริกาและเป็นที่รู้จักกันทั่วโลก ลักษณะของโลโก้ที่เป็นรูปโค้งยาวคล้ายเครื่องหมายถูก ก็คือ ลักษณะของปีกของเทพีไนกี้นั่นเอง นอกจากนี้ ไนกี้ยังเป็นเทพีที่เป็นสัญลักษณ์อยู่บนกระโปรงหน้ารถยี่ห้อโรลส์-รอยซ์  อันเป็นเอกลักษณ์แสนพิเศษโดยเฉพาะของรถยนต์ประเทศอังกฤษ รวมไปถึงการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่องเซนต์เซย์ย่า ก็มีการนำเทพีไนกี้ไปเป็นตัวละคร โดยเทพีไนกี้ได้กลายร่างเป็นคทาในมือขวาของคิโด ซาโอริ หรือเทพีอาธีน่าที่ลงมาเกิดในโลกมนุษย์นั่นเอง
                                                                   3. เพอร์ซุส (perseus)

    เพอร์ซุส วีรบุรุษแห่งกรีกที่แสนโด่งดังและเป็นที่รู้จักไปทั่วอีกท่านหนึ่ง ที่แม้จะไม่ได้มีกำลังเหมือนดั่งเฮอร์คิวลิส แต่ก็เป็นลูกครึ่งเทพเจ้าไม่ต่างกัน แต่พบว่ามีสิ่งหนึ่งที่แสนแปลกประหลาด ก็คือ เพอร์ซุสเป็นทวดของเฮอร์คิวลิส ซึ่งมีผลทำให้เฮอร์คิวลิสมีพลังอำนาจอันมหาศาล เนื่องด้วยการมีเชื้อจอมเทพมาจากทั้งฝ่ายบิดาและมารดา ผู้คนมากมายจึงขนานนามเพอร์ซุสว่า เพอร์ซุสผู้สังหารเมดูซา” ซึ่งเมดูซาถือเป็นอสูรร้ายที่น่าเกรงกลัวมาก และมีความสามารถในการสาบคนให้กลายเป็นหินได้ด้วยการสบตา
    ตำนานเล่าเรื่องของเพอร์ซุสไว้ว่า เพอร์ซุสเป็นพระโอรสของเทพซีอุสและมนุษย์ธรรมดาที่มีชื่อว่า ดาเนีย” ซึ่งที่มาของการรู้จักกันของเทพและคนธรรมดาคู่นี้เกิดมาจากตอนที่ท้าวอะคริสิอัสผู้เป็นกษัตริย์แห่งเมืองอาร์กอสและเป็นพระราชบิดาของเจ้าหญิงดาเนีย ได้เข้ารับคำทำนายโดยนักบวชแห่งวิหารเดลฟีว่า  “เจ้าจะต้องตายด้วยบุตรชายแห่งธิดาเจ้า” ซึ่งจากที่ได้ฟังคำทำนายเช่นนั้น ท้าวอะคริสิอัสก็เกิดความกลัวมาโดยตลอดว่าวันใดวันหนึ่งพระองค์อาจจะต้องตายตามที่เคยถูกทำนานไว้แน่ ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงพยายามป้องกันไม่ให้เจ้าหญิงดาเนียได้แต่งงานกับใคร โดยการกักขังตัวเจ้าหญิงเอาไว้บนหอคอยสูง เพื่อเจ้าหญิงจะไก้ไม่มีโอกาสไปสร้างความสัมพันธ์กับชายคนไหนจนเกิดเป็นลูกออกมา แต่พระองค์ก็ไม่สามารถฝืนชะตาฟ้าลิขิตได้ เมื่อเทพซีอุสเกิดตกหลุมรักเจ้าหญิงดาเนียเข้า และลงมาร่วมภิรมย์สุขสมจนเจ้าหญิงตั้งครรภ์ในที่สุด และเจ้าหญิงก็ได้ให้กำเนิดเป็นพระโอรสออกมา
    เมื่อท้าวอะคริสิอัสทราบความดังนั้น ก็สั่งให้จับเจ้าหญิงดาเนียและพระโอรสใสหีบ แล้วนำไปลอยทิ้งทะเล แต่บังเอิญที่หีบใบนี้ได้ขึ้นไปเกยตื้นที่เกาะเซอริฟัส ทำให้เจ้าหญิงและพระโอรสได้รับความช่วยเหลือจากดิคทิส ผู้เป็นหัวหน้าชาวประมงแถบนั้น และเป็นพระเชษฐาแห่งกษัตริย์โพลิเดคทิส ดิคทิสตัดสินใจมอบตัวเจ้าหญิงและพระโอรสให้ท้าวโพลิเดคทิสช่วยอุปถัมภ์ จนในที่สุด พระโอรสก็เติบใหญ่ขึ้นเป็นหนุ่มรูปงาม ที่มีชื่อว่า เพอร์ซุส” ตลอดเวลา ท้าวโพลิเดคทิสแอบหลงรักในตัวของเจ้าหญิงดาเนียมานานแสนนาน แต่มีถูกเพอร์ซุสคอยขัดขวางเสมอ พระองค์จึงคิดจะกำจัดเพอร์ซุส จึงรับสั่งให้เพอร์ซุสไปตัดหัวของเมดูซามาให้จงได้  ซึ่งเพอร์ซุสก็ยิมยอมทำตามคำสั่งแต่โดยดี
    เพอร์ซุสเดินทางออกไปทางทิศตะวันตก ตามคำบอกเล่าของท้าวโพลิเดคทิสที่บอกไว้ว่า ปีศาจร้ายเมดูซาอยู่บริเวณสุดขอบโลกทางทิศตะวันตก แต่เมื่อเพอร์ซุสเดินทางไปยังทิศตะวันตกไม่ทันไร ก็พบว่ามีทะเลมาขว้างกั้น แต่สวรรค์ก็ช่วยเหลือ เพราะเทพซีอุสผู้เป็นบิดาได้สั่งให้เทพฮาเดส เทพีอธีน่า และเทพเฮอร์เมส ลงไปช่วยเหลือเพอร์ซุสให้ทำภารกิจครั้งนี้ให้สำเร็จให้ได้ เทพเจ้าทั้ง พระองค์จึงได้ประทานของวิเศษพระองค์ละชิ้นให้แก่เพอร์ซุส ดังต่อไปนี้ เทพฮาเดสประทานหมวกนักรบที่ประดับด้วยขนนกเป็นพู่สวยงาม เทพีอธีน่าประทานโล่ไว้เป็นเกาะกำบัง และเทพเฮอร์เมสประทานเกือกติดปีกไว้สำหรับเหาะเดินทาง
    จากนั้นเพอร์ซุสก็ได้ถามเทพเจ้าทั้ง ไปว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่แห่งหนไหน ซึ่งเทพีอธีน่าได้ตอบไปว่า พวกเราเหล่าทวยเทพไม่รู้หรอกว่าเทพีอธีน่าอยู่ที่ใด มีเพียงกลุ่มเทพีกราเอีย พี่น้องเท่านั้นที่รู้ว่าปีศาจตัวนี้อยู่ที่ไหน” เพอร์ซุสจึงถามต่อไปว่า “แล้วพระองค์และเทพี พี่น้องกราเอียอยู่ที่ไหนล่ะ” และได้รับคำตอบกลับมาว่า เจ้าจงใช้เกือกติดปีกที่ข้าให้ไป เหาะไปยังเกาะกลางทะเลแล้วเจ้าจะพบกับพี่น้องเทพีกราเอียเอง” เทพเฮอร์เมสกล่าว ส่วนเทพฮาเดสก็กล่าวอวยพรสั้นๆว่า “ขอให้เจ้าทำภารกิจนี้สำเร็จ
    เพอร์ซุสจึงกล่าวลาและกล่าวขอบคุณเทพเจ้าทั้งสามที่ช่วยเหลือ จากนั้นเพอร์ซุสก็ใช้เกือกติดปีกของเทพเฮอร์เมสบินมาจนมาพบกับเกาะที่อยู่ของเทพีกราเอีย พี่น้อง เพอร์ซุสได้พบกับเทพีผู้แสนน่าสงสารที่ตาบอดเกือบทุกพระองค์ และหลงเหลือเพียงดวงตาดวงเดียวที่ใช้ร่วมกันเท่านั้น เพอร์ซุสได้ขโมยดวงตาแห่งเทพีกราเอียมา เพื่อหวังที่จะหลอกถามถึงที่อยู่ของปีศาจเมดูซา ทำให้เหล่าเทพีต้องยอมบอกทางเพื่อแลกกับการได้ดวงตาคืนมา เพอร์ซุสจึงสามารถเดินทางไปจนถึงเกาะอันเป็นที่อยู่ของเมดูซาได้สำเร็จ
    ที่เกาะแห่งนี้เต็มไปด้วยรูปแกะหินเหมือนรูปคนจริง ที่อยู่ในท่าทางต่างๆ ซึ่งล้วนมองดูน่ากลัวและน่าสงสารเป็นอย่างมาก หินทุกก้อนล้วนเคยเป็นมนุษย์ที่มีลมหายใจทั้งสิ้น แต่ต้องมาถูกปีศาจเมดูซาสาบให้แข็งกลายเป็นหินเช่นนี้ จากนั้น เพอร์ซุสก็ลอบเข้าไปยังปราสาทของเมดูซา แต่เพอร์ซุสก็ไม่กล้ามองตาเมดูซาตรงๆ เพราะกลัวว่าจะถูกสาบกลายเป็นหิน ดังนั้น เขาจึงพยายามดูเงาที่สะท้อนมาจากโล่แทน เมื่อเขาพบกับเมดูซา เพอร์ซุสก็ได้เด็ดหัวมันมาจนได้ และได้นำเอาหัวเมดูซ่าเหาะกลับมาสู่เกาะเซอริฟัส แต่บางตำนานก็กล่าวไว้ว่า หลังจากที่เพอร์ซุสตัดหัวเมดูซาได้แล้ว ก็ได้พบกับม้ามีปีก ที่มีชื่อว่า ปีกาซัส” โดยบังเอิญ ซึ่งสิ่งมหัศจรรย์นี้ล่องลอยออกมาจากคอของเมดูซานั่นเอง ซึ่งถือเป็นบุตรที่เมดูซาตั้งครรภ์เอาไว้ในครั้งที่มีความสัมพันธ์กับเทพโพไซดอนตั้งแต่ตอนที่เมดูซายังเป็นนางพรายงดงามก่อนที่จะถูกสาปให้เป็นปีศาจร้ายอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
    ระหว่างทางกลับ เพอร์ซุสถูกพายุพัดจนเข้ามาถึงอุทยานสวรรค์แห่งเทพเจ้าที่มีเทพแอตลาสคอยแบกสวรรค์เอาไว้  เพอร์ซุสหวังจะมาพักผ่อนหลังจากที่ความเหน็ดเหนื่อยกับการต่อสู้กับเมดูซ่า แต่เพอร์ซุสก็กลับถูกเทพแอตลาสขับไล่ ทำให้เพอร์ซุสเกิดความโมโหและชูศีรษะของเมดูซาให้เทพแอตลาสดู เมื่อเทพแอตลาสสบตากับหัวเมดูซาก็ถูกสาบกลายเป็นหินไป จนเป็นที่มาภูเขาแอตลาสที่อยู่ทางตอนเหนือของทวีปแอฟริกานั่นเอง
    เพอร์ซุสเดินทางต่อจนผ่านทะเลทรายซาฮาร่า และบังเอิญทำเลือดจากศีรษะของเมดูซาหยดไหลลงไปตามทาง ซึ่งเลือดหยดนั้นก็บังเกิดมาเป็นงูพิษที่อาศัยในทะเลทรายในเวลาต่อมา
    เพอร์ซุสเดินทางต่อไปจนถึงกรุงเอธิโอเปีย ซึ่งปกครองโดยท้าวเซฟฟิฟัส ที่นี่ทำให้เขาต้องตกใจกับเหตุการณ์ที่เห็นตรงหน้าอย่างมาก เมื่อมีสาวงามถูกตรึงเอาไว้กับโขดหินโดยมีสัตว์ประหลาดจากท้องทะเลเข้ามารุมพร้อมจะกินนาง ด้วยเหตุนี้ เพอร์ซุสจึงตัดสินใจฆ่าสัตว์ประหลาด เพื่อที่จะได้ช่วยเหลือหญิงสาวผู้นั้น ในภายหลัง เพอร์ซุสจึงได้ทราบความจริงว่า หญิงสาวผู้นี้ก็คือ เจ้าหญิงอันโดเมดร้า ผู้เป็นพระธิดาแห่งท้าวเซฟฟิฟัส ท้าวเซฟฟิฟัสกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เจ้าหญิงต้องมาตกเป็นอาหารของปีศาจร้ายว่า
    “เพราะพระมเหสีคัสสิโอเปีย เคยกล่าวดูหมิ่นเหล่านางพรายนีเรียดส์ทั้ง50นาง ซึ่งหนึ่งในนั้น ก็คือ เทพีอัมฟิตริตีผู้เป็นราชินีแห่งเทพโพไซดอน เมื่อพระองค์พิโรธ จึงได้ลงโทษโดยการส่งสัตว์ร้ายจากท้องทะเลขึ้นมาอาละวาดจับชาวบ้านกิน ทำให้จำเป็นต้องส่งสาวพรหมจรรย์มาสังเวยให้แก่มันในทุกปี และครั้งนี้ก็ถึงคราวของเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าคนนี้แล้วล่ะท่าน
    ท้าวเซฟฟิฟัสพอพระทัยเป็นอย่างมากที่เพอร์ซุสได้ช่วยชีวิตของพระธิดาเอาไว้ จึงเต็มใจที่จะยกพระธิดาให้เป็นพระชายา เพอร์ซุสจึงได้อภิเษกกับเจ้าหญิงอันโดรเมดร้า และพาเจ้าหญิงกลับบ้านเมืองของพระองค์ หลังจากที่กลับไปถึงเกาะเซอริฟัส เพอร์ซุสตั้งใจจะนำเอาหัวของเมดูซาไปถวาย แต่เมื่อมาถึงกลับพบว่า พระมารดาของเจ้าหญิงดาเนียหนีได้หนีมาอยู่ที่บ้านของดิกทิส เนื่องจากถูกท้าวโพรเดคทิสลวนลาม เพอร์ซุสนึกแค้นเป็นอย่างมาก จึงได้เข้าเฝ้าและมอบหัวเมดูซาให้แก่ท้าวโพรเดคทิส โดยเพอร์ซุสได้ชูหัวเมดูซาให้หันหน้าไปทางพระองค์ ทำให้พระองค์เผลอสบตาเมดูซาเข้าอย่างจัง และกลายเป็นหินไปในทันที หลังจากนั้น เพอร์ซุสก็ยกเมืองแห่งนี้ให้ดิกทิสเป็นกษัตริย์ปกครองต่อไป ส่วนหัวของเมดูซาก็ได้นำมาประดับไว้ในโล่ของเทพีอธีน่า
    หลังจากนั้น เพอร์ซุสก็ได้พาพระมารดาและเจ้าหญิงอันโดรเมดร้ากลับสู่เมืองอาร์กอส เพื่อหวังจะกลับไปเยี่ยมเสด็จตา และคาดว่าเสด็จตาจะไม่กลัวในคำทำนายอีกต่อไปแล้ว ซึ่งเมื่อท้าวอะคริสิอัสได้ทราบข่าวเท่านั้น ก็ได้ทรงหลบหนีไปอาศัยอยู่ที่เมืองลาริสซา ซึ่งเป็นเมืองของพระสหายเก่า เพอร์ซุสก็ได้ออกตามหาเสด็จตา จนเดินทางมาถึงเมืองลาริสซา
    ที่เมืองลาริสซาในขณะนั้นกำลังมีการจัดงานกีฬารื่นเริง เพอร์ซุสจึงได้ลงแข่งขันในก๊ฬาขว้างจานเหล็ก (ควอยต์) ด้วย ซึ่งในขณะที่แข่งอยู่ เพอร์ซุสขว้างจานเหล็กแรงเกินไป จนไปถูกชายชราคนหนึ่งเสียชีวิตแบบไม่ตั้งใจ เมื่อเจ้าหญิงดาเนียมาถึงก็ทราบว่าชายชราคนนั้น คือ ท้าวอะคริสิคัส ซึ่งตรงกับคำทำนายที่เคยว่าไว้ทุกประการว่าพระองค์จะต้องเสียชีวิตด้วยน้ำมือของหลาน
    ต่อมาเพอร์ซุสก็ได้ขึ้นครองเมืองอาร์กอส แต่ก็รู้สึกไม่สบายใจเท่าไรนักเพราะคิดว่าตนคือผู้ที่สังหารเสด็จตา และแย่งบัลลังก์มา พระองค์จึงตัดสินใจเดินทางออกไปสร้างเมืองใหม่ ที่มีชื่อว่า ไมซีนี” และปกครองเมืองนี้ร่วมกับพระราชินีอันโดรเมดร้าอย่างมีความสุขเสมอมา
                                                                4. เทพอพอลโล (Apollo)

อพอลโล (Apollo) ถือเป็นเทพคู่แฝดกับเทวีอาร์เตมิส ผู้เป็นเทพครองดวงอาทิตย์ คู่กับอาร์เตมิสที่ถือเป็นเทพแห่งดวงจันทร์
    ตามตำนานแล้ว ฮีลิออส(Helios) ถืเป็นชั้นแต่เดิมสุริยเทพของกรีก และถือเป็นบุตรของโอเพอร์เรียน (Hyperion) ที่อยู่ในคณะเทพไทแทนด้วย แต่หลังจากการสิ้นอำนาจของคณะเทพไทแทน ชาวกรีกจึงหันมานับถือเทพอพอลโลแทน
    กล่าวถึง อพอลโล เทพชาวกรีกผู้มีรูปร่างงดงาม และยังถือเป็นนักดนตรีที่ช่วยขับกล่อมบทเพลงอันไพเราะให้แก่เหล่าเทพบนเขาโอลิมปัส เทพอพอลโลจะพิณถือในมือหนึ่ง และถือคันธนูอีกมือหนึ่ง ซึ่งธนูนี้สามารถยิงได้ไกล ทำให้ได้รับสมญานามว่า เทพขมังธนู’  อีกทั้ง เทพอพอลโลยังเป็นเทพผู้ถ่ายถอดวิชาศิลป์ให้แก่มนุษย์บนโลกอีกด้วย เทพอพอลโลถูกยกย่องให้เป็นเทพแห่งแสงสว่าง และเป็นเทพแห่งสัจธรรมผู้ไม่เคยโป้ปดอีกด้วยตำนานกล่าวไว้ว่า เทพอพอลโลเป็นเทพผู้เก่งกาจและได้สังหารคนพาลที่ทำผิดไปอย่างมากมาย ส่วนสัตว์ดุร้ายก็ล้วนล้มตามด้วยฝีมือของเทพอพอลโลทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น งูยักษ์ไพธอนยักษ์อโลอาดี (Aloadae) และ อีฟิอัลทิส(Ephialtes) ผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ไทแทน ที่หวังจะฟื้นคืนวงศ์ไทแทนกลับมา เป็นต้น
                                                              5. เทพโปเซดอน (Poseidon)

    เทพโปเซดอน (Poseidon) หรือ เทพแห่งมหาสมุทร เป็นเทพเจ้าแห่งท้องทะเลและมหาสมุทร ที่ปกครองพื้นที่แห่งท้องน้ำ ไม่ว่าจะเป็น แหล่งน้ำจืด แม่น้ำ คลอง รวมไปจนถึง ทะเล มหาสมุทร และเมืองใต้บาดาล เทพโปเซดอนจะมีอาวุธเป็นสามง่ามคู่กาย บางตำนานอาจกล่าวถึงลักษณะของเทพโปเซดอนว่ามีท่อนล่างเป็นปลา นอกจากนี้ เทพโปเซดอน ยังถือเป็นเทพแห่งแผ่นดินไหว และเป็นเทพแห่งม้าอีกด้วย
    ประวัติความเป็นมาของเทพโพเซดอนเล่าว่า พระองค์เป็นบุตรของโครโนส กับ เร และมีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกันอีกถึง องค์ ซึ่งทุกองค์ล้วนแต่เป็นเทพแห่งโอลิมปัสด้วยกันทั้งสิ้น พี่น้องของเทพโปเซดอนได้แก่
1.ซูส เทพผู้เป็นใหญ่ในสภาเทพแห่งโอลิมปัส
2.ฮาเดส เทพผู้ปกครองยมโลกและดินแดนหลังความตาย
3.เฮรา ชายาแห่งเทพซูส
4.เฮสเตีย เทพีแห่งเตาผิง

    เรามักจะเห็นว่าลักษณะของเทพโพเซดอน จะเป็นชายวัยกลางคน ที่มีรูปร่างกำยำล่ำสัน มีหนวดเครารกรุงรัง และถือสามง่ามไว้เป็นอาวุธ ซึ่งอาวุธชิ้นนี้มีความร้ายแรงเป็นอย่างมาก สามารถที่จะบันดาลให้ท้องทะเลบ้าคลั่งหรือทำให้เกิดแผ่นดินไหวก็ได้ตามที่เทพโปเซดอนต้องการ ครั้งหนึ่งตอนที่โพเซดอนคิดที่จะโค่นล้มอำนาจของซุส ซึ่งครั้งนั้นได้ร่วมมือกับเฮราและอะธีนา แต่แผนการทั้งหมดก็ไม่สำเร็จ และสุดท้ายก็ถูกเทพซุสลงโทษ โดยสั่งให้ไปสร้างกำแพงเมืองทรอยร่วมกันกับเทพอพอลโล
    โพเซดอนมีมเหสีองค์หนึ่งที่ชื่อว่า เมดูซ่า นางเป็นหญิงรับใช้ของอะธีนาที่มีรูปร่างหน้าตางดงามเป็นอย่างมาก ก่อนที่สุดท้ายจะถูกสาบให้น่าเกียจและมีผมเป็นงูจนกลายเป็นปีศาจร้ายไป (บางตำนานกล่าวว่า ความจริงแล้ว เมดูซ่าเกิดหลงรักเทพโพไซดอนก่อน เทพโพไซดอนจึงแปลงเป็นม้าเพื่อแอบมาร่วมรักกับเมดูซ่า)  แต่เมื่ออะธีนาทราบเรื่องเข้า จึงสาบเมดูซ่าให้กลายเป็นปีศาจ และมีฤทธิ์ในการสาบให้คนเป็นหินได้ด้วยการจ้องตา และหลังจากที่เปอร์ซิอุสสามารถตัดหัวของเมดูซ่ามาได้แล้ว เลือดของเมดูซ่าที่กระเด็นออกมาก็กลายสภาพไปเป็นม้าบินสองตัว ที่ชื่อว่า เพกาซัส (Pegasus) และ คริสซาออร์ (Chrysaor) ทั้งนี้ก็เพราะโพไซดอน ตอนที่แปลงกายเป็นม้ามาร่วมรักกับเมดูซ่า ดังนั้นจึงอาจบอกได้ว่า เพกาซัส และ คริสซาออร์ ก็ถือเป็นบุตรของโพเซดอนด้วยเช่นกัน
    พาหนะของเทพโพเซดอน คือ ม้าน้ำเทียมรถ ซึ่งมีส่วนบนเป็นม้าแต่ส่วนล่างเป็นปลา จากภาพโบราณมักจะพบเทพโพเซดอนประทับอยู่บนรถเทียมม้าน้ำ และขับขึ้นมาจากท้องทะเล
    เทพโพไซดอน เป็นเทพเจ้าที่หงุดหงิด ขี้โมโห และมีอารมณ์เดือดรุนแรง ดวงตาสีฟ้าเต็มไปด้วยความดุดัน ที่สามารถมองทะลุม่านหมอกได้ เทพโปเซดอนมีเกศาเป็นสีน้ำทะเลที่สยายลงมาอยู่เบื้องหลัง เทพโปเซดอน ได้รับสมญานาม ว่า ผู้เขย่าโลก” เพราะเมื่อใดที่ปักตรีศูลลงบนพื้นดิน แผ่นดินทั้งผืนก็จะสั่นสะเทือน และแตกออกจากกัน และหากเมื่อใดที่ปักตรีศูลลงสู่ท้องทะเล ก็จะบังเกิดเป็นคลื่นลูกยักษ์ใหญ่เท่าภูเขา รวมทั้งเกิดพายุพัดแรง เสียงดังกัลปนาถไปทั่ว เรือที่ล่องรอยอยู่ในทะเลจะแตก ผู้คนจะจมน้ำตาย แต่เมื่อใดที่เทพโพไซดอนอารมณ์ดีขึ้น และทรงยื่นพระหัตถ์ออกไป ทะเลและแผ่นดินก็จะสงบอีกครั้ง
                                                                                               6. เทพซีอุส (Zeus)


    เทพซีอุส (Zeus) เชื่อว่าเป็นเจ้าแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย ถือเป็นผู้รอบรู้ด้านการพยากรณ์อากาศ และเป็นเทพผู้คุมกฎแห่งสวรรค์ ซึ่งเขายังต้องทำหน้าที่ผดุงความยุติธรรมตามกฎหมายอีกด้วย  พลังอำนาจในการต่อสู้ของเทพซีอุสเป็นที่น่าเกรงขามอย่างยิ่ง เทพซีอุสมีสัญลักษณ์แห่งพลังอำนาจเป็น สายฟ้า (Thunderbolt)
    ตำนานกล่าวไว้ว่า เทพซีอุส เป็นบุตรคนสุดท้องของเทพ Cronos ผู้แข็งแกร่ง เมื่อตอนที่เทพ Cronos ต่อสู้กับ Uranus จนสามารถเอาชนะเทพผู้นี้ได้ ทำให้เทพซีอุสจำเป็นต้องสังหารเทพ Cronos ส่วน Rhea ผู้เป็นภรรยาของเทพ Cronos ก็ไว้ใจ Gaia ให้มาทำหน้าที่คอยปกป้องดูแลเขา ในขณะที่เทพ Cronos กำลังจะกลืนกินลูกของเธอทีละคนๆ ซึ่งเธอก็ได้ปกป้องเทพซีอุส ซึ่งเป็นลูกคนสุดท้องไว้ได้ และได้ส่งเขาให้ไปอาศัยอยู่กับนางไม้ Adrasteia และ Ida เทพซีอุสโดตมาด้วยการเลี้ยงดูด้วยนมแพะ Amaltheia
    เมื่อเทพซีอุส ก็ได้กลับมาต่อสู้กับพ่อตัวเอง โดยเขาได้รับการช่วยเหลือจาก Gaia อย่างดี จนทำให้เขาค่อยสำรอกเอาลูกๆ ที่เคยกลืนกินออกมาทีละคนๆ ซึ่งตอนนั้นพวกเขาก็ล้วนเติบโตขึ้นเป็นเทพ และเทพีแห่งโอลิมปัสกันแล้ว
    ระหว่างการต่อสู้ของเทพซีอุสกับเทพ Cronos และ Titans ฝ่ายเทพซีอุสได้รับชนะ และได้กลายเป็นเจ้าแห่งเทพเจ้าในทันที ส่วนเทพ Cronos กับบรรดา Titan ของเขาต่าง ก็ถูกลงทัณฑ์โดยการกักขังเอาไว้ใน Tarturos แต่ Gaia ก็เกิดความไม่พอใจที่เทพซีอุสกล้ามาทำร้ายบรรดาไททันที่เป็นลูกของเธอ เธอจึงออกคำสั่งให้ Giants และ Typhon ออกไปต่อสู้กับเทพซีอุส แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถทัดทานฝีมือของเขาได้ นับจากนั้นเป็นต้นมา Gaia จึงได้ยอมรับว่า เทพซีอุสถือเป็นเจ้าแห่งเทพเจ้าและมนุษย์อย่างเต็มตัว
    เทพซีอุส มีมเหสีชื่อว่า Hera และมีลูกๆออกมาทั้งหมด คน ได้แก่ Ares (เทพเจ้าแห่งสงคราม) Eilethyia (เทพีแห่งการเกิด) Hebe (เทพีแห่งความเยาว์วัย) Hephaestus (เทพเจ้าแห่งงานช่าง) นอกจากนั้น เทพซีอุสยังมีความสัมพันธ์อันแสนลึกซึ้งกับเทพีองค์อื่นๆอีกมากมายหลายองค์
    ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชาวกรีซต่างให้การนับถือเทพซีอุส เป็นอย่างมาก เพราะเทพองค์นี้มีความสามารถเป็นที่สุด ส่วนชาวโรมันก็ได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อบูชาเทพซีอุส โดยมีชื่อว่า  Jupiter หรือ Jore มากไปกว่านั้น  ศิลปะสมัยโบราณมากมาย ก็มักจะมีการจารึกภาพวาดของเทพผู้นี้ในรูปร่างของชายหนุ่มที่มีร่างกายบึกบึน มีหนวดเครายาวรุงรัง และถือดาบสายฟ้าไว้ในมือ
    ส่วนสัตว์ที่คอยตามอารักขาก็มีหลากหลายชนิด เช่น นกอินทรีย์วัว และหงส์ อีกทั้งยังมีรูปปั้นทองคำของเทพซีอุสที่มีการประดับด้วยงาช้างไว้อย่างสวยสดงดงามด้วย ซึ่งผลงานชิ้นนี้เป็นผลงานแกะสลักของ Pheidias ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นปฏิมากรชื่อดัง และถูกนำไปตั้งอยู่ในบริเวณวัดที่โอลิมปัส  และถึงแม้ว่ารูปปั้นรูปนี้จะไม่ได้ถูกจารึกเอาไว้ในประวัติศาสตร์ แต่ครั้งหนึ่งก็ถือว่าเคยเป็นหนึ่งในเจ็ดของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกเช่นกัน
                                                                                7. เทพีฮีร่า (Hera) หรือ จูโน (Juno)

    ฮีร่า (Hera) หรือจูโน (Juno) ถือเป็นราชินีของเทพธิดาทั้งปวง เพราะเธอเป็นชายาของซูสผู้ยิ่งใหญ่ ประวติความเป็นมาของฮีร่ากล่าวไว้ว่า เธอเป็นธิดาองค์แรกของเทพไทแทนโครนัสกับเทพมารดารีอา ซึ่งได้อภิเษกสมรสกับ ซูสเทพบดีผู้เป็นอนุชาของนางในภายหลัง ด้วยเหตุนี้ฮีร่าจึงกลายเป็นราชินีที่สูงที่สุดในสรวงสวรรค์ชั้นโอลิมปัส ที่เป็นที่คร้ามเกรงของคนโดยทั่วไป เทวีฮีร่าไม่ชอบนิสัยเจ้าชู้ของสวามีของตน เพราะเทพซูสเป็นเทพที่เจ้าชู้ และมักจะประพฤติตนให้เทพีฮีร่าหึงหวงอยู่เสมอ อีกทั้งยังคอยลงโทษหรือคิดพยาบาทบุคคลที่คิดจะมาเป็นภรรยาน้อยของเทพซูสอยู่เสมอด้วย
    ตอนแรกที่ซูสขอฮีร่าแต่งงาน นางฮีร่าก็ปฏิเสธ และยังคงปฏิเสธเรื่อยมาจนถึง 300 ปี แต่เมื่อวันหนึ่ง ซูสก็ได้วางแผนคิดอุบายปลอมตัวเป็นนกกาเหว่า ที่เปียกปอนไปด้วยพายุฝนและบินไปเกาะที่หน้าต่างที่ห้องนางฮีร่า เมื่อฮีร่าเห็นเข้าก็นึกสงสาร จึงได้จับนกตัวนั้นมาลูบขนพร้อมกับกล่าวคำว่า ฉันรักเธอ” ทันใดนั้นเอง ซูสก็แปลงร่างกลับคืน และขอให้ฮีร่าแต่งงานกับพระองค์
    แต่ชีวิตคู่ของเทวีฮีร่ากับเทพปริณายกซูสก็มีสะดุดอยู่เรื่อยมา ทั้งสองมักจะทะเลาะและมีปากเสียงกันบ่อยตลอดเวลา จนเป็นหนึ่งความเชื่อของชาวกรีกโบราณว่า เมื่อใดที่เกิดพายุฟ้าคะนองอย่างดุเดือด เมื่อนั้นแสดงถึงสัญญาณว่า เทพซูสกับเทพีฮีร่ากำลังต้องทะเลาะกันอยู่อย่างแน่นอน เนื่องจากเทพทั้งสองถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสรวงสวรรค์
    แม้ว่าเทวีฮีร่าจะถือเป็นราชินีแห่งสรวงสวรรค์หรือเทพมารดาแทนรีอา แต่เมื่อพิจารณาจากความประพฤติและอุปนิสัยของเจ้าแม้แล้ว กลับพบว่าไม่อ่อนหวานหรือมีเมตตาสมกับที่เป็นเทพแห่งมารดาเลย เจ้าแม่นั้นเป็นทั้งบุคคลที่โหดร้าย  ขาดเหตุผล  เจ้าคิดเจ้าแค้น และเป็นเทพีที่ชอบคิดอาฆาตจนถึงที่สุด  หากผู้ใดก็ตามที่ถูกเทวีฮีร่าอาฆาตมาดร้ายหมายหัวเอาไว้ ก็มักจะพบจุดจบที่ดูไม่สวยงามมากเท่าไรนัก  ยกตัวอย่างเช่น ชาวกรุงทรอยที่เมืองทั้งเมืองล่มจมลงไป ก็มีเหตุเพราะความอาฆาตพยาบาทของเจ้าแม่ฮีร่าผู้นี้นี่เอง  โดยสาเหตุของเรื่องราวร้ายกาจครั้งนี้ เกิดจากที่เจ้าชายปารีสแห่งทรอย ไม่ยอมเลือกให้เจ้าแม่เป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม ระหว่าง เทวีแห่งสวรรค์ ได้แก่ เทวีฮีร่า เทวีเอเธน่า และเทวีอโฟรไดที
    รูปวาดหรือรูปสลักที่ชาวกรีกโบราณสร้างขึ้นถวายแก่เจ้าแม่ฮีร่า มักจะพบเห็นว่าเป็นเทวีวัยสาวที่มีความสวยสง่าเป็นอย่างมาก ว่ากันว่าความงามของนางเป็นที่น่าหลงใหลจนเกิดความคลั่งไคล้กับหลายผู้หลายคน โดยเฉพาะอิกซิออน (Ixion) ผู้เป็นราชาแห่ง ลาปิธี (Lapithae) ซึ่งภายหลังก็ถูกเทพซูสลงโทษอย่างร้ายแรง  และด้วยความทรนงคิดว่าตนมีรูปโฉมที่สิริงดงาม จึงทำให้เทวีฮีร่ามักจะเป็นเดือดเป็นร้อนเมื่อสวามีของตนแอบปันใจไปให้หญิงงามคนอื่น ฮีร่าจึงต้องตามราวีหญิงสาวเหล่านั้นจนถึงที่สุดเสมอ  ความร้ายกาจเรื่องความหึงหวงของเจ้าแม่ รุนแรงมากถึงขนาดที่คิดจะปฏิวัติโค่นล้มอำนาจของสวามีเลยด้วยซ้ำ เรื่องมีอยู่ว่า
    เจ้าแม่รู้สึกโกรธในความไม่ซื่อสัตย์ของเทพซูสอย่างเต็มที ฮีร่าจึงได้ขอความร่วมมือกับเทพโปเซดอน ผู้เป็นเชษฐาของเทพซูสเอง  รวมไปถึงเทพอพอลโลกับเทวีเอเธน่าด้วย  ทุกคนรวมหัวกันจับองค์เทพซูสมัดไว้อย่างแน่นหนา  จนเกือบจะทำให้เทพซูสสูญเสียอำนาจอยู่แล้ว  แต่พอดีว่ายังชายาของเทพซูสอีกองค์หนึ่งที่มีชื่อว่า มีทิส (หมายความว่าภูมิปัญญา) ได้เข้ามาช่วยเหลือเทพซูสได้ทันเวลา โดยไปนำตัวอาอีกีออน (Aegaeon) ผู้เป็นอสูรร้อยแขนที่น่ากลัว เข้ามาช่วยเหลือเทพซูสได้อย่างทันท่วงที อสูรตนนี้มีฤทธิ์อย่างมาก จนเทพเทวาทั้งหลายต้องยอมแพ้ไปตาม ๆ กัน เมื่ออาอีกีออนเข้ามาช่วยซูส  จึงทำให้บรรดาผู้คิดคดหนีหน้าหายไปหมด  และแผนการณ์ครั้งนี้ก็ถูกล้มครืนในที่สุด

                                                                                   8. เทพาอาเรส (Ares) หรือ Mars

    เทพแอรีส หรือ มาร์ส (Mars) ตามที่ชาวโรมันชอบเรียก ถือเป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ หรือเป็นหนึ่งในสิบสองของเทพโอลิมปัสด้วย
    แอรีส เป็นเทพแห่งสงครามไม่ต่างกับ อธีน่า เพียงแต่อธีน่าจะได้รับการยกย่องมากกว่า เพราะอธีน่าถือเป็นเทพีที่ใช้สมองในการวางแผนสู้รบได้เป็นอย่างดี และทำให้เทพีองค์นี้ได้รับการบูชาในฐานะที่เป็นเทพีแห่งสติปัญญาไปด้วยในเวลาเดียวกัน ในขณะที่ แอรีสเป็นเทพที่นิยมใช้ความดุดันและโหดร้ายมากกว่าการใช้สติปัญญาในการสงครามมากกว่า ดังที่กวีกรีกโบราณคนสำคัญที่ชื่อว่า โฮเมอร์ เคยเขียนถึงเทพแอรีสว่า พระองค์เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้ามากองค์หนึ่ง
    แอรีส ได้ลอบเป็นชู้รักกับเทวีอโฟรไดท์ ผู้เป็นบุตรของเทพปริณายกซูสกับเจ้าแม่ฮีรา และเป็นที่น่ารังเกลียดของเทพและมนุษย์ทั้งปวง ยกเว้นแต่เพียงชาวโรมันที่รักในการสงครามเท่านั้น
    ชาวโรมันมีความรักเทิดทูนในเทพองค์นี้เป็นอย่างยิ่ง โดยถึงกับแต่งตั้งให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม อีกทั้งยังสรรเสริญความดความชอบของเทพองค์นี้อีกหลายประการ ในทางตรงกันข้าม ชาวกรีก กลับไร้ซึ่งความนิยมเลื่อมใสในเทพองค์นี้เลยแม้แต่น้อย  และยังถือด้วยว่า เธอเป็นเทพที่มีนิสัยดุร้าย ป่าเถื่อน และไร้ความเมตตากรุณา
    ในมหากาพย์อิเลียด ที่เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบทกวีในการสงคราม ก็มีการพูดถึงเทพแอรีสไว้เช่นกัน แต่เธอจะถูดพูดถึงในเชิงเกลียดชังตลอดทั้งเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ได้ประณามเธอว่า เทพแอรีส เป็นผู้ที่ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด ซึ่งเป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง จึงอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ชาวกรีกถือว่าเทพแอรีสเป็นเทพอันธพาลของกรีกเลยก็ว่าได้
    ประวัตของเทพแอรีสกล่าวไว้ว่า เทพอาเรสเป็นหนึ่งในโอรสระหว่างองค์เทพซูสกับเทวีฮีร่า และทรงเป็นโอรสที่ถูกพระบิดาตราหน้าว่า เจ้าเป็นที่น่ารังเกียจ น่าชัง มากที่สุดในบรรดาลูกของข้าทั้งหมด เจ้าทั้งโหดร้าย และดื้อด้านเหมือนกับแม่เจ้าไม่ผิด!”  ซึ่งก็ถือว่าเป็นคำพูดที่ตรงกับอุปนิสัยใจคอของเทพอาเรสมากที่สุด นอกจากเทพแอรีส จะมีนิสัยดังกล่าวแล้ว อาเรสยังเป็นเทพที่หุนหันพลันแล่น โมโหง่าย และรักในความรุนแรงเป็นอย่างมาก ซึ่งถือเป็นอุปนิสัยที่แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่าเป็นอย่างมาก แม้ว่าพระองค์จะเป็นเทวีแห่งสงครามเช่นกัน เพราะเทพเอเธน่านั้นมีลักษณะนิสัยที่สุขุมนุ่มลึก ฉลาด และเต็มไปด้วยความกล้าหาญ ทำให้ได้รับการยกย่องจากมนุษย์และเทพทั้งปวง
    ด้วยเหตุผลที่ว่ามานี้ จึงทำให้เทพอาเรสรู้สึกอิจฉาริษยาเป็นอย่างมาก และตัดพ้อว่า เหตุใดฟ้าที่ส่งให้อาเรสมาเกิดแล้ว จึงต้องส่งเอเธน่ามาเกิดด้วยเล่า” ทำให้เมื่อทั้งสองต้องพบกันทีไร ก็มักจะเกิดเหตุทะเลาะวิวาทกันเสียทุกครั้งไป ตามตำนาน มีเหตุการณ์การทะเลาะกันที่สำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เกิดขึ้นเมื่อทั้งสองไปพบกันกลางทาง และเกิดมีปากเสียงกันอย่างเคย เทพอาเรสโกรธมาก จึงบันดาลโทสะขว้างจักรอันมีฤทธิ์แรงกล้าไม่ต่างกับอสนีบาตขององค์ซูสเทพ เข้าใส่เอเธน่า แต่เจ้าแม่ก็หลบได้ทัน แล้วทรงทุ่มหินที่วางอยู่ข้าง ๆตอบกลับไป แต่พอดีว่าหินก้อนนั้นไม่ใช่หินธรรมดา แต่กลับเป็นหินที่ตั้งไว้เพื่อบอกอาณาเขต  เมื่อหินนั้นกระทบถูกร่างของอาเรส ก็ทำให้อาเรสถึงกับล้มลง เทวีเอเธน่าจึงได้กล่าวเยาะเย้ยเทพแอรีสด้วยว่า เจ้าโง่! ศึกครั้งนี้ ก็น่าจะทำให้เจ้ารู้ได้แล้วใช่ไหมว่าพละกำลังของเรามีมากขนาดไหน ครางหน้าคราวหลังอย่าคิดจะมารบกวนเราอีกต่อไปเลย!
    การเป็นเทพแห่งสงครามตามปกติ จะต้องชนะการรบในทุกที่ แต่สำหรับเทพอาเรสแล้วกลับเป็นผลในทางตรงข้าม เพราะเขามักจะปราชัยเสียมากกว่า เพราะนอกจากจะพ่ายแพ้แก่เทวีเอเธน่าแล้ว เทพแอรีสยังพ่ายแพ้ต่อมนุษย์อีกหลายคนด้วย เช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส ผู้ที่เคยสังหารโอรสของอาเรสมาแล้ว ส่วนในครั้งที่ผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็เกือบถูกต่อยตี จนเทพแอรีสต้องหลบหนีไปยังโอลิมปัสแทบไม่ทัน เมื่อเรื่องดังกล่าวถึงหูเทพซูส ไท้เธอก็ตัดสินให้เลิกลากันไป เพราะ เฮอร์คิวลิสก็ถือเป็นโอรสของเทพซูสเช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าเขานั้นมีมารดาเป็นเพียงแค่มนุษย์สามัญเท่านั้น
    เทพอาเรสเดินทางไปไหนต่อไหนได้โดยรถศึกเทียมม้าที่มีฝีเท้าจัดมากมาย และมีแสงเกราะและแสงศาตราวุธของเธอเป็นอาวุธคู่กาย ที่คอยส่องแสงสว่างเจิดจ้าบาดตาบุคคลผู้พบเห็นเป็นอย่างมาก เทพแอรีสมีบริวารคู่ใจที่คอยตามติดอยู่ คน ได้แก่ เดมอส (Deimos) ที่หมายความว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) ที่หมายความว่า น่าสยองขวัญ บางตำนานกล่าวว่าบริวารทั้งสองนี้ถือเป็นโอรสของเทพอาเรส ส่วนในเชิงดาราศาสตร์ หากตั้งชื่อดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว จึงมีการก็ตั้งชื่อดวงจันทร์ที่เป็นบริวารที่โคจรอยู่รอบดาวอังคารทั้งสองดวงว่า เดมอส กับ โฟบอส ตามไปด้วย
    อาเรสก็มีตำนานด้านความรักเหมือนเทพองค์อื่นๆ เขาได้เร่ร่อนหารักไปเรื่อยๆในโอลิมปัส แต่ไม่ได้ยกย่องให้ใครเป็นชายา อย่างไรก็ตาม มีเรื่องราวความรักของอาเรสที่สำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เรื่องราวนี้เกิดขึ้นตอนที่ได้ลักลอบไปเป็นชู้กับเทวีแห่งความงามและความรัก ที่มีชื่อว่า อโฟรไดท์
                                                                                            9. เทพีเฮสเทีย (Hestia)

    เทพีเฮสเทีย (Hestia) หรือ เวสตา (Vesta) ในภาษาโรมัน ถือเป็นเทพีที่เป็นที่เคารพนับถือเป็นอย่างมากในฐานะที่เป็นอัคนีเทวีผู้ครองไฟ โดยเฉพาะไฟในเตาผิงตามบ้านเรือน ทำให้เจ้าแม่ถือเป็นที่นับถือว่าเป็นผู้คุ้มครองชีวิตความเป็นอยู่ของคนในบ้านด้วย
    ครอบครัวกรีก และโรมัน ถือว่าเตาไฟผิงเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างมากสำหรับทุกๆบ้าน พวกเขาถือว่าไฟที่ลุกโชติช่วงบนเตาถือเป็นไฟของเจ้าแม่ เมื่อใดที่มีเด็กเกิดใหม่ขึ้นมาในบ้านของชาวกรีก เมื่อเด็กอายุได้ครบ วัน พ่อของเขาจะอุ้มลูกไปวนเวียนอยู่รอบเตาผิง ซึ่งเดิมที่จะตั้งไว้อยู่กลางบ้าน ไม่ได้ตั้งอยู่ติดฝาผนังเหมือนอย่างในสมัยนี้ การอุ้มลูกไปเดินเวียนรอบเตาผิงก็เพื่อแสดงให้รู้ว่า เจ้าแม่จะได้รับเอาเด็กคนนั้นไปไว้ในการดูแลอารักขา และช่วยคุ้มครองโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เด็กเริ่มหัดเดิน
    เฮสเทียถือเป็นพี่สาวคนโตของเทพซูส และเป็นเทวีที่ครองความโสดไว้อย่างยอดเยี่ยม ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความเคารพนับถือเฮสเทียด้วยเหตุผลอีกหนึ่งประการ ที่ว่า เฮสเทีย นั้นไม่ยอมตกเป็นชายาของเทพซูส หรือแม้โปเซดอนผู้เป็นพี่ชายจะขออภิเษกด้วย เฮสเทียก็ยังคงยืนยันไม่ยินยอม ในขณะที่ อพอลโล ผู้เป็นหลาน ก็ล้วนถูกเฮสเทียปฏิเสธเช่นกัน
    เจ้าแม่เฮสเทีย อยู่ในวิหารที่มีลักษณะเป็นวงกลม และมีเจ้าพิธีเป็นหญิงพรมหมจารี ผู้ที่เสียสละการวิวาห์เพื่ออุทิศถวายแก่เจ้าแม่ และยังคอยทำหน้าที่เติมเชื้อไฟในเตาไฟสาธารณะ ซึ่งมีอยู่ประจำในทุกนครให้สว่างโชติช่วงตลอดไป
    เป็นที่เชื่อกันว่า ชาวโรมันบูชาเจ้าแม่เฮสเทียเผยแผ่ไปไกลถึงประเทศของตน โดยมี อีเนียส (Aeneas) เป็นคนตั้งต้นในการนำเรื่องที่ว่านี้ไปเผยแผ่ จากนั้น นูมาปอมปิเลียส (Numa Pompilius) ผู้เป็นกษัตริย์แห่งกรุงโรมก็ได่ก่อสร้างศาลเจ้าเพื่อมอบถวายให้แก่เจ้าแม่ในสถานที่กลางยี่สานโรมัน หรือที่เรียกกันว่า Roman Forum โดยเขามีความเชื่อที่ว่า บริเวณนี้เป็นที่ที่เหมาะสม และสวัสดิภาพของกรุงโรมรวมไปถึงแผ่นดินทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับการรักษาเปลวไฟอันศักดิ์สิทธิ์มี่อยู่ในวิหารแห่งนี้ให้โชติช่วงชัชวาลต่อไปด้วย
    กล่าวถึง เวศตัล (Vestal) ซึ่งเป็นหญิงพรหมจารี เธอมีหน้าที่รักษาเปลวไฟที่อยู่ภายในวิหารแห่งนี้  ในชั้นเดิมจะมีเพียงแค่ คน แต่ต่อมาในชั้นหลังก็เพิ่มจำนวนเป็น คน โดยทั้งหมดอยู่ใต้การดูแลของจอมอาจารย์ซึ่งเป็นบัญชาการศาสนาของโรม ที่มีชื่อว่า Pontifex Maximus
    หลังจากนั้นต่อมา เมื่อคณะเวสตัลพรหมจารีลดน้อยลง จอมอาจารย์จึงต้องคดสรรผู้สืบต่อในตำแหน่งนี้ด้วยวิธีการจับสลาก โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้สมัครเป็นเวสตัลสำรองจะต้องมีอายุในช่วงวัยระหว่าง 6-10 ปี ประกอบไปด้วยร่างกายและจิตใจที่แข็งแรงสมบูรณ์ และต้องมีชาติกำเนิดเป็นชาวอิตาลี เวสตัลสำรองเหล่านี้จะเข้ารับการฝึกอบรมต่อเนื่องยาวนานถึง 10 ปี ก่อนจะได้เลื่อนตำแหน่งเป็นเวสตัลผู้ปฏิบัติหน้าที่ในวิหารแห่งนี้เป็นเวลาอีก 10 ปี และหลังจากที่ครบกำหนดแล้ว ก็จะต้องทำหน้าที่ต่อโดยการสั่งสอนอบรมเวสตัลสำรองที่จะขึ้นมาเป็นเวสตัลรุ่นต่อไปอีก 10 ปี จึงจะถือว่าเกษียณอายุราชการ และจะได้เป็นไทเมื่อมีอายุเท่ากับ 40 ปี จึงจะสามารถไปประกอบอาชีพอื่นๆได้ และจะแต่งงานมีสามีได้ก็ต้องพ้นช่วงอายุนี้ไปก่อน นอกจากนี้ คนเหล่านี้ยังมีหน้าที่เติมไฟศักดิ์สิทธิ์ไม่ให้ขาด อีกทั้งพรหมจารีเวสตัลยังต้องทำภารกิจอีก ประการ ประการที่หนึ่งก็คือ เธอต้องเดินทางไปบ่อน้ำพุ อิจีเรีย (Egeria) เพื่อตักน้ำที่ชานกรุงโรมในทุกวัน ซึ่งตำนานของน้ำพุนี้เล่ากันไว้ว่า เดิมทีอิจีเรียถือเป็นนางอัปสรผู้เป็นบริวารของเทวีอาร์เตมิส นางผู้นี้เป็นผู้มีปัญญาฉลาด และมีคู่หูเป็นท้าวนูมาปอมปิเลียส ซึ่งจะช่วยกันหารือการแผ่นดินมิได้ขาด กวีโอวิคได้กล่าวถึงนางไว้ว่า นางถือเป็นชายาคู่กาสยของท้าวนูมาเลยต่างหาก ในขณะที่กวีท่านอื่นกล่าวเพียงว่า นางเป็นแค่เพียงที่ปรึกษาที่รู้ใจเท่านั้น อิจีเรียมีอิทธิพลเป็นอย่างมากเห็นได้จากตอนที่ท้าวนูมาออกกฎหมายและระเบียบแผนใหม่  ก็มักจะออกประกาศกับราษฎรอยู่เสมอว่า นางอิจีเรียได้เห็นชอบกฎหมายและระเบียบแบบแผนเหล่านี้หมดแล้ว ครั้งที่ท้าวนูมาทิวงคต นางอิจีเรียก็เสียใจอย่างมาก นางได้แต่ร้องไห้จนกลายเป็นน้ำพุไปในที่สุด ชาวโรมันจึงเชื่อกันว่า น้ำพุอิจีเรียถือเป็นน้ำพุบริสุทธิ์ด้วยประการฉะนี้
    พรหมจารีเวสตัลมีหน้าที่พิเศษในการอารักขาดูแลวัตถุลึกลับมากๆสิ่งหนึ่ง ที่คนต่างเรียกกันว่า พัลเลเดียม (Palladium) ผู้คนเชื่อว่า สิ่งนี้เป็นวัตถุที่อีเนียสนำไปจากกรุงทรอย แต่ก็ไม่มีผู้ใดเว้นเสียแต่คณะเวสตัล ที่ทราบว่าสิ่งๆนั้นเป็นอะไรแน่ บ้างก็กล่าวกันว่าเป็นเพียงรูปปั้นของเจ้าแม่เอเธน่า แต่บ้างก็คิดกันว่าเป็น โล่ที่ร่วงหล่นลงมาจากสวรรค์ เมื่อศึกกรุงทรอย ชาวเมืองในกรุงทรอยถือว่าสิ่งนี้ถือเป็นของคู่บ้านคู่เมือง หากยังมีของสิ่งนี้อยู่ กรุงทรอยจะไม่แตกเป็นเด็ดขาด แต่เมื่อยูลิซิสกับไดโอมิดิสผู้เป็นทหารเอกของฝ่ายกรีกได้ขโมยเอาสิ่งนี้ไป กรุงทรอย จึงล้มสลายลง บ้างก็มีตำนานเล่าว่า ความจริงแล้วกรุงทรอยแตกเพราะเสียขวัญ และเสียท่าต่อกรีกมากกว่า
                                                                         10. เทพฮาเดส (Hades) หรือเทพเจ้าพลูโต

    ในตำนานกรีกโบราณ ได้กล่าวถึงเทพผู้ยิ่งใหญ่ที่มีอำนาจไม่ยิ่งหย่อนไปกว่า โปเซดอน เทพองค์นี้มีชื่อว่า ฮาเดส หรือ ที่ชาวโรมันเรียกว่า พลูโต
    เทพพลูโต ทำหน้าที่ดูแลเมืองบาดาล หรือยมโลก และคนตายทั้งหมด โดยคำว่าพลูโต” มีความหมายถึง เทพแห่งทรัพย์ เพราะนอกจากจะดูแลยมโลกแลัว ท้าวฮาเดสยังทำหน้าที่ครองมวลธาตุล้ำค่าที่อยู่ภายใต้พื้นพิภพอีกด้วย บางทีจึงมีชื่อว่า ดีส (Dis) ที่หมายความว่า ทรัพย์ นั่นเอง (แม้ว่าบางตำนานอาจกล่าวว่า ฮาเดสทำหน้าที่ครองเมืองยมโลกและคนตายเท่านั้น)
    ในขณะที่ เทพที่ทำหน้าที่ครองความตายอีกองค์หนึ่ง มีชื่อเรียกในภาษากรีกว่า ธานาทอส (Thanatos) หรือ ชื่อในภาษาลาตินว่า ออร์คัส (Orcus) เทพองค์นี้เป็นคู่กันกับ ฮิปนอส (Hipnos) เทพประจำความหลับ
    แม้ว่าเทพฮาเดสจะเป็นหนึ่งในเทพแห่งโอลิมปัส แต่ก็ไม่ค่อยจะได้ออกจากยมโลกเพื่อเสด็จขึ้นไปยังเขาโอลิมปัสมากเท่าไรนัก และก็ไม่ค่อยอยากมีใครยินดีต้อนรับเทพองค์นี้เสียเท่าไร  เพราะส่วนใหญ่ล้วนแต่เกรงกลัวในอำนาจของพระองค์ทั้งสิ้น เนื่องด้วยพระองค์เป็นเทพที่ปราศจากความปรานี เต็มไปด้วยความยุติธรรม และเธอก็มีหมวกวิเศษใบหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้สวมผู้นั้นหายตัวไปได้เลยทันที
    ชาวกรีกโบราณเชื่อว่า ภายในยมโลกจะเป็นที่อยู่ของดวงวิญญาณทุกดวงที่สิ้นชีวิตไปแล้ว วิญญาณเหล่านี้จะถูกนำไปรับฟังคำพิพากษาจากคณะเทพสภาในยมโลกซึ่งอยู่ใต้พื้นพิภพ และเป็นอาณาจักรที่อยู่ใต้การปกครองของเทพฮาเดสผู้นี้
    เทพฮาเดสจ้าวแห่งแดนบาดาล มีอุปนิสัยที่ค่อนข้างจะเย็นชา และแข็งกร้าว ไร้ซึ่งความเวทนาปรานีแก่ผู้ใด แต่พระองค์ก็ทรงตัดสินความถูกผิดไปด้วยความมียุติธรรมตลอดเวลา จึงเป็นเหตุให้ท้าวเธอไม่สามารถหาสตรีมาเป็นชายาครองบัลลังก์ในปรโลกร่วมกันได้เสียที ครั้งหนึ่งเมื่อท้าวเธอเสด็จขึ้นมาบนพื้นโลก และได้พบเจอกับหญิงงามที่มีชื่อว่า เพอร์เซโฟนี (Persephone) ผู้เป็นธิดาองค์เดียวของเจ้าแม่โพสพเทวี ดีมีเตอร์  ด้วยความงามที่นางมี จึงทำให้ฮาเดสลืมไปว่านางคนนี้ก็คือหลานแท้ๆของตนเอง เนื่องจากดีมิเตอร์เทวีถือเป็นน้องนางของพระองค์ จ้าวแห่งแดนบาดาลจึงได้ไปฉุดเอาตัวของเพอร์เซโฟนีลงไปเป็นคู่ครองในดินแดนใต้พิภพ แม้ตัวนางเองจะไม่ได้เต็ม ใจเลยสักนิด
                                                                                       11.  เทพีอาเทน่า (Athena)

    กล่าวถึงคณะเทพโอลิมเปียนซึ่งมีเทพีพรหมจารีปรกอบอยู่ด้วยกัน องค์ มีชื่อตามลำดับ ได้แก่ เฮสเทีย (Hestia) เอเธน่า (Athene) และ อาร์เตมิส (Artemis) ซึ่งเทพีองค์แรกถือเป็นเทพีภคินีของเทพปริณายกซูส ส่วนอีก องค์หลังนั้นเป็นธิดาของเทพปริณายกซูส ซึ่งแต่ละองค์มีประวัติเล่าขานและความสำคัญที่แตกต่างกันไป ดังต่อไปนี้
    การประสูติของเทพีเอเธน่าเป็นที่กล่าวขานกันว่า ครั้งหนึ่งในอดีต ซูสเทพบดีได้ฟังคำทำนายขึ้นมาว่า โอรสธิดาที่ถือกำเนิดขึ้นมาจากมเหสีมีทิส (Metis) ผู้ทรงปัญญา จะมีอำนาจในการล้มบัลลังก์ของพระองค์ได้ในอนาคต เมื่อได้ฟังดังนั้นไท้เธอก็พยายามแก้ปัญหาง่ายๆ โดยการจับตัวมีทิสที่กำลังตั้งครรภ์แก่กลืนเข้าไปอยู่ในท้อง แต่เมื่อเวลาผ่านไปไม่นาน เทพปริณายกซูสก็เกิดอาการปวดหัวขึ้นมาอย่างหนักทบทนไม่ไหว  ไท้เธอจึงมีเทวโองการรับสั่งให้เทพทั่วเขาโอลิมปัสมาร่วมประชุม เพื่อให้ช่วยกันคิดหาทางออกที่จะบำบัดอาการปวดหัวที่ไท้เธอเป็นอยุ๋  แต่ก็ไม่มีทวยเทพองค์ใดสามารถคิดแก้ไขปัญหาออกได้เลยแม้แต่ผู้เดียว ซึ่งในขณะนั้น เทพซูสก็ไม่อาจจะทนความรู้สึกเจ็บปวดเช่นนี้อีกต่อไปได้ จึงมีเทวบัญชาเพื่อสั่งโอรสองค์หนึ่วของพระองค์ ที่ชื่อว่า ฮีฟีสทัส (Hephaestus) หรือ วัลแคน (Vulcan) นำขวานมาผ่าลงไปที่เศียรของไท้เธอ เทพฮีฟีสทัสก็ปฏิบัติตามคำสั่งของบิดา และเอาขวานจามลงไปที่เศียรเทพซูส แต่ยังไม่ทันที่ขวานจะทำให้เศียรของเทพซูสแยกออกจากกันดี เทพีเอเธน่าก็ประสูติขึ้นมาจากเศียรของเทพบิดา โดยลักษณะของเธอนั้นอยู่ในวัยที่เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และฉลององค์ด้วยหุ้มเกราะงามแวววาว และในมือถือหอกเป็นอาวุธ เทพีเอเธน่าประกาศชัยชนะด้วยเสียงอันดังไปทั่วจนเป็นที่พิศวงหวั่นหวาดแก่ทวยเทพทั้งหลายอย่างที่สุด และทันใดนั้นเอง พื้นพสุธาและมหาสมุทรก็เกิดการสั่นสะเทือนเลื่อนลั่นครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่า เทพีเอเธน่าองค์นี้ได้ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว
    การอุบัติของเทพีเอเธน่าถือเป็นโชคดีที่จะนำโลกไปยังสันติสุขและช่วยกำจัดความโง่เขลาที่ปกครองโลกที่เคยมีให้หมดสิ้นไป ซึ่งการที่เจ้าแม่กำเนิดออกมาจากเศียรของเทพซูส เทพีแห่งความโฉดเขลาซึ่งไม่ปรากฏรูป ก็หนีให้เจ้าแม่เข้าครองแทนที่ เพราะฉะนั้น เทพีเอเธน่าจึงถือเป็นที่บูชาในฐานะเทพีผู้มีปัญญา อีกทั้งยังเป็นเทพีที่มีฝีมือในการหัตถกรรม เย็บปักถักร้อย รวมไปถึงยุทธศิลปในการปกป้องบ้านเมืองก็มีดีไม่แพ้ใคร
    หลังจากการประสูติของเจ้าแม่เอเธน่าได้ไม่นาน ก็มีหัวหน้าชาวฟีนิเชียคนหนึ่ง ที่มีนามว่า ซีครอบส์ (Cecrop) ได้นำเอาบริษัทบริวารเดินทางอพยพเข้าสู่ประเทศกรีซ และได้เลือกชัยภูมิอันกว้างใหญ่แห่งหนึ่งในแถบแคว้นอัตติกะ (Attica) ก่อนจะจัดตั้งสร้างภูมิลำเนา สร้างบ้านเรือนขึ้น จนในที่สุดก็กลายเป็นนครอันสวยงามนครหนึ่ง เทพทั้งกลายที่คอยเฝ้าดูการสร้างเมืองแห่งนี้ ล้วยเต็มเปี่ยมไปด้วยความเลื่อมใส และเมื่อเห็นว่าเมืองที่สร้างมีเค้าใกล้จะกลายเป็นนครยิ่งใหญ่อันแสนน่าอยู่ขึ้นมาแล้ว แต่ละเทพก็ต่างแสดงความปรารถนาอยากจะได้เอกสิทธิ์ประสาทชื่อนครกันทั้งนั้ย ด้วยเหตุนี้จึงมีการประชุมเพื่อถกถึงเรื่องนี้ ซึ่งระหว่างการประชุมก็มีการอภิปรายโต้แย้งกันมากมาย แต่เทพส่วนใหญ่ก็ต่างพากันสละสิทธิ์ไปจนหมด เหลือแต่เพียงเทพโปเซดอนและเทพีเอเธน่า องค์เท่านั้น ที่ยังไม่ยอมวางมือ และยังคงแก่งแย่งเมืองนี้กันอยู่ต่อไป
    เพื่อต้องการให้ยุติปัญหาว่าผู้ใดกันแน่ที่สมควรจะได้รับเอกสิทธิ์ในการประสาทชื่อนครแห่งนี้ แต่เทพปริณายกซูสก็ไม่พึงประสงค์จะชี้ขาดด้วยเกรงว่าจะทำให้เป็นที่ครหาว่าพระองค์เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นได้ ว่าแล้ว ไท้เธอจึงได้มีเทวโองการว่า นครแห่งนี้ควรจะอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเทพ หรือเทพี ซึ่งมีความสามารถในการเนรมิตสิ่งของที่คิดว่ามีประโยชน์ต่อมนุษย์ที่สุดให้ เพื่อให้มนุษย์สามารถนำไปใช้ได้ และมอบอำนาจให้ที่ประชุมมีหน้าที่ในการตัดสินชี้ขาดว่าใครนั้นมีความเหมาะสมมากกว่ากัน
    เทพโปเซดอนเป็นผู้เริ่มสร้างก่อน เธอได้ยกตรีศูลคู่มือขึ้นมากระแทกลงไปบนพื้น ซึ่งทำให้เกิดเป็นม้าลำยองตัวหนึ่งผุดขึ้นมา เหล่าเทพทั้งหลายต่างพากันส่งเสียงแสดงความพิศวงและกล่าวชื่นชมในเทพผู้นี้เป็นอย่างมาก เทพโปไซดอนได้อธิบายถึงคุณประโยชน์ของม้าตัวนี้ให้แก่เหล่าเทพทั้งหลายทั้งปวงได้ฟัง ซึ่งทำให้เทพทุกองค์ต่างคิดเห็นไปในทางเดียวกันว่า เทพีเอเธน่าคงจะไม่อาจเอาชนะได้เป็นแน่แท้ พร้อมกับมีอารมณ์เบิกบานและกล่าว เย้ยหยันด้วยเสียงอันดังก้อง ทันใดนั้นเอง เจ้าแม่เอเธน่าก็ได้เนรมิตเป็นต้นมะกอกต้นหนึ่งขึ้นมา และเจ้าแม่ก็ได้อธิบายถึงคุณสรรพคุณของต้นมะกอก ว่ามนุษย์จะสามารถนำเอามันไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้างนานัปการ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไม้ ผล กิ่งก้าน หรือใบ อีกทั้งมะกอกยังถือเป็นเครื่องหมายแห่งสันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งแน่นอนว่าคงจะเป็นประโยชน์และเป็นที่พึงประสงค์กว่าม้าตัวนั้น ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์แห่งสงครามเป็นแน่ เมื่อเหล่าเทพได้ฟังดังนั้น ก็ต่างคิดเห็นเช่นกัน ว่าของที่เจ้าแม่เอเธน่าสร้างขึ้นมานั้นมีประโยชน์กว่าจริงๆ เหล่าเทพจึงได้ลงมติเข้าช้างเจ้าแม่ ทำให้เจ้าแม่เป็นผู้ไดรับชัยชนะไปในที่สุด ทำให้เจ้าแม่เอเธน่าได้เป็นผู้ตั้งชื่อนครแห่งนั้น ตามชื่อของเจ้าแม่เองว่า เอเธนส์ (Athens) เพื่อเป็นเครื่องมือที่คอยระลึกถึงชัยชนะในครั้งนี้ และตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ชาวกรุงเอเธนส์ก็ให้การเคารพบูชาเจ้าแม่ ในฐานะที่เธอเป็นเทพีผู้ปกครองนครของพวกเขามาอย่างดีตลอดมา
    เรื่องที่เล่ามานี้ไม่ใช่เพียงแค่ต้นกำเนิดของชื่อเมืองเอเธนส์เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นการกล่าวถึงตำนานการกำเนิดของม้าที่อยู่ในเทพปกรณัมกรีกอีกด้วย นอกจากนี้ ยังเป็นการเล่าถึงที่มาของต้นมะกอก ว่าที่ชาวตะวันตกถือว่าช่อมะกอกใช้เป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ก็เพราะเหตุการณ์ครั้งนี้นี่เอง
    อีกเรื่องเล่าเรื่องหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเทพีเอเธน่าเช่นกัน เรื่องเล่านี้เป็นเรื่องที่แสดงถึงที่มาหรือต้นกำเนิดของสิ่งจากธรรมชาติเพื่อสนองต่อความอยากรู้อยากเห็นของคนโบราณ ดังจะกล่าวถึงดังต่อไปนี้
    ในสมัยดึกดำบรรพกาล ประเทศกรีซมีดรุณีน้อยผู้หนึ่งที่มีรูปโฉมหน้าตาที่งดงามน่าพิสมัย ที่มีชื่อว่า อาแรคนี (Arachne) อย่างไรก็ตาม นางผู้นี้มีความหยิ่งผยองในฝีมือการทอผ้าและการปั่นด้ายอันยอดเยี่ยมของนางเป็นอย่างมาก ทำให้เป็นข้อเสียเพียงอย่างเดียวที่ทำให้เธอไม่ได้เป็นที่รักของเทพและมนุษย์ทั้งมวลเสียเท่าไร
    อาแรคนี ทะนงในตนเองว่า นางเท่านั้นที่มีฝีมือในด้านหัตถกรรม และสำคัญตนว่าคงไม่มีใครที่สามารถมีฝีมือทัดเทียมเสมอกับนางได้เลย อีกทั้งยังเที่ยวคุยฟุ้งเฟื่องไปถึงไหนต่อไหนถึงความเก่งกาจของตนเองเสียอีก เมื่อความถึงหูของเจ้าแม่เอเธ เธอจึงตัดสินใจที่จะลงมาประชันฝีมือแข่งกับนางอาแรคนี ซึ่งนางอาแรคนีก็ยินดีอย่างยิ่งที่จะได้แข่งขันกับเจ้าแม่ และไม่ลืมที่จะโอ้อวดตัวเองอย่างเนือง ๆ ในที่สุด เจ้าแม่เอเธน่าก็หมดความอดทน และเกิดความรำคาญ ทำให้ต้องลงมาจากเขาโอลิมปัสเพื่อทำโทษนางอาแรคนี ไม่ให้มีใครคิดเอาเป็นแบบอย่างเช่นนี้อีก โดยวิธีการทำโทษของเจ้าแม่ทำโดยการจำแลงกายเป็นยายแก่ เพื่อเดินเข้าไปในบ้านของนางอาแรคนี เจ้าแม่เข้าไปชวนนางอาแรคนีคุยอยู่ชั่วครู่ ซึ่งนางอาแรคนีก็คุยโวถึงฝีมือของตน และเริ่มพูดถึงเรื่องการแข่งขันเพื่อประลองฝีมือกับเจ้าแม่เอเธน่า เมื่อเจ้าแม่ได้ฟังดังนั้น ก็กล่าวตักเตือนห้ามปรามอย่างละม่อม และบอกให้นางสงบปากสงบคำไว้บ้าง เพราะคำพูดไม่ดีเช่นนี้อาจเป็นเหตุให้เทพเจ้าขัดเคือง และยังผลให้นางเกิดภัยร้ายแรงแก่ตัวเองได้ แต่เนื่องจาจิตใจของนางอาแรคนีมีแต่ความมืดมนและหลงทะนงตนมากเสียจนไม่สนใจต่อคำตักเตือนของยายแก และยังพูดสำทับเพิ่มเติมอีกด้วยว่า นางอาแรคนีอยากจะให้เจ้าแม่มาได้ยินคำพูดของนางเสียเหลือเกิน และจะได้ลงมาท้าประกวดฝีมือกับนางเสียที  เมื่อเจ้าแม่ได้รับรู้แล้วว่านางอาแรคนีมีนิสัยที่ชั่วช้าเพียงใด เจ้าแม่ก็เกิดความโมใหหจนถึงขีดสุด พร้อมกับสำแดงองค์ให้นางอาแรคนีเห็นตามจริง พร้อมรับคำท้าที่จะท้าประลองฝีมือในทันที
    การแข่งขันเริ่มต้นขึ้นเมื่อทั้งสองฝ่ายจัดแจงตั้งหูกพร้อมสรรพ จากนั้นต่างฝ่ายต่างก็ทอลายผ้าอันแสนวิจิตรงดงามขึ้น โดยเทพีเอเธน่าเลือกทอภาพในครั้งที่เจ้าแม่แข่งขันประลองกับเทพโปเซดอน ในขณะที่ นางอาแรคนีก็เลือกเอาภาพซูสตอนที่ลักพาตัวนางยูโรปามาเป็นลายในการทักทอ เมื่อครั้นที่ต่างฝ่ายต่างทอเสร็จ ก็ได้นำเอาลายผ้ามาเปรียบเทียบกัน ทันทีที่นางอาแรคนีได้เห็นผ้าทอของเจ้าแม่ ก็รับรู้ได้ทันทีว่าผลงานของนางพ่ายแพ้อย่างหลุดลุ่ย ลายรูปโคโลดแล่นในทะเลในขณะที่มีคลื่นซัดสาดออกเป็นฟองฝอย กับภาพนางยูโรปาที่เกาะเขาอยู่ในอาการกึ่งยิ้มกึ่งตกใจ และมีเกศาและผ้าสไบที่พลิ้วไหลปลิวไปตามสายลมที่นางอาแรคนีทอขึ้น ไม่อาจสามารถจะเทียบเคียงกับลายรูปชมรมของเหล่าทวยเทพ ที่ขนาบข้างไปด้วยรูปม้าและต้นมะกอกเนรมิต อันดูเหมือเป็นภาพที่มีชีวิตที่เจ้าแม้ถักทอขึ้นมาได้เลย ทำให้ยางอาแรคนีรู้สึกเสียใจ เจ็บใจ และระอายใจในความผิดพลาดของตนเองเป็นอย่างมาก นางอาแรคนีไม่อาจสามารถจะทนอยู่บนโลกใบนี้ได้อีกต่อไป จึงได้เอาเชือกผูกคอเพื่อหมายจะปลิดชีวิตของตนเอง แต่เมื่อเจ้าแม่เอเธน่าได้เห็นดังนั้นว่านางอาแรคนีคิดจะหนีโทษทัณฑ์ไป เจ้าแม่จึงรีบสาบเพื่อเปลี่ยนกายของนางอาแรคนีให้กลายเป็นแมงมุมห้อยโตงเตง และสาปให้แมงมุมนางอาแรคนีต้องปั่นและทอใยไปเรื่อยๆแบบไม่มีวันหยุด ทั้วนี้ก็เพื่อเป็นการตักเตือนมนุษย์ไม่ให้เกิดมีมนุษย์ที่คิดจะทะนงตนทัดเทียมเทพเช่นเดียวกับนางอาแรคนีอีกเด็ดขาด
    ตามปกติแล้ว เทพีเอเธน่าจะประทับอยู่เคียงข้างซูสเทพบิดาตลอดเวลา เพื่อคอยให้คำปรึกษา ความเห็น หรือคำแนะนำแสนแยบคายต่อเทพซูสตลอดเวลา ครั้นเมื่อมีศึกสงครามเกิดขึ้นบนโลก เทพีเอเธน่าก็จะขอประทานยืมโล่ของเทพบิดาลงมาสนับสนุนให้แก่ฝ่ายที่ถูกต้อง และมีเหตุผลอันชอบธรรมในการสงครามอยู่เสมอ ดังเช่น สงครามกรุงทรอยที่เป็นที่โจษจันกันไปทั่ว ซึ่งศึกครั้งนั้น เทพีเอเธน่าก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ขอเข้าร่วมด้วย เธออยู่ฝ่ายเดียวกับกรีก ซึ่งตรงข้ามกับเทพองค์อื่น ๆ เช่น เทพีอโฟร์ไดท์ หรือ เทพเอเรส เป็นต้น ที่หันไปเข้าข้างฝั่งทรอย
    ด้วยเหตุที่เทพีเอเธน่ามีความสามารถในการทำสงคราม จึงทำให้เจ้าแม่กลายเป็นเทพีอุปถัมภ์ของบรรดานักรบไปด้วยพร้อมๆกัน จะไม่มีวีรบุรุษคนสำคัญใดๆบนโลกเกิดขึ้นได้เลย หากขาดการสนับสนุนช่วยเหลือจากเจ้าแม่ มีครั้งหนึ่งที่เทพีเอเธน่าเคยช่วยเฮอร์คิวลิสทำสงคราม ซึ่งทำให้เขาสามารถทำงาน 12 อย่างตามที่เทพีฮีร่าสั่งเอาไว้ได้ อีกทั้ง ยังเคยช่วยเปอร์เซอุสฆ่านางการ์กอนเมดูซ่า ช่วยโอดีสซีอุส (หรือยูลิซิส) ให้เดินทางกลับจากยุทธภูมิสู่ทรอยได้อย่างปลอดภัย รวมไปถึงการช่วยเหลือเตเลมาคัส ผู้เป็นบุตรชายของโอดีสซีอุสให้สามารถเจอพ่อได้สำเร็จ
    ด้วยความที่ชาวกรีกนับถือเจ้าแม่เป็นอย่างมาก ชาวกรีกจึงได้มีการสร้างวิหารเพื่อถวายบูชาแด่เทพีเอเธน่าเอาไว้ มากมายนับไม่ถ้วน แต่สถานที่แห่งหนึ่งที่นับได้ว่ามีชื่อเสียงมากที่สุดก็คือ วิหาร พาร์ธีนอน ซึ่งตั้งอยู่ ณ กรุงเอเธนส์ ซึ่งแม้ว่าปัจจุบันจะหลงเหลือแต่เพียงซาก ก็ยังคงมีเค้าของงานฝีมืออันวิจิตรพิสดารหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง
    นอกจากชื่อ เอเธน่า หรือ มิเนอร์วา แล้ว ชาวกรีกและชาวโรมันยังเรียกชื่อเจ้าแม่ในอีกหลายรูปแบบ โดยชื่อที่แพร่หลายมากที่สุด ได้แก่ พัลลัส (Pallas) ทำให้จนบางที เจ้าแม่ก็ถูกเรียกชื่อควบว่าเป็น พัลลัสเอเธน่า เลยก็มี ซึ่งต้นเหตุที่ชื่อนี้ถูกเรียกกันอย่างกว้างขวาง ก็เพราะครั้งหนึ่งเจ้าแม่เคยปราบยักษ์ตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า พัลลัส แม้ตำนานจะไม่ปรากฏชัดแจ้ง แต่ก็มีเรื่องเล่ากันมาว่า เจ้าแม่สามารถฆ่ายักษ์ตนนี้ได้สำเร็จ และถลกเอาหนังของยักษ์ออกมาคลุมองค์ ทำให้กลายเป็นที่มาของชื่อเรียกนี้ไปในที่สุด อีกทั้ง รูปปั้นประติมาหรืออนุสาวรีย์ของพระองค์ ก็ถูกเรียกว่า พัลเลเดียม (Palladium) ซึ่งคำว่า Palladium ในภาษาอังกฤษก็หมายความถึง ภาวะหรือปัจจัยที่นำพาความคุ้มครอง หรือความปลอดภัยให้บังเกิดแก่หมู่ชน เปรียบเสมือนพัลเลเดียมที่ชาวโรมันรักษาเอาไว้ในวิหารเวสตานั่นเอง
                                                                          12. เทพีอโฟรไดท์ (Aphrodite) หรือ Venus

    เทวีอโฟรไดที่ (Aphrodite) หรือ วีนัส (Venus) ถือเป็นเทวีองค์สำคัญที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มากที่สุด เนื่องจากเทวีองค์นี้เป็นเจ้าแม่ผู้ครองความรักและความงาม มีอำนาจในการสะกดให้เทพและมนุษย์ทั้งปวงเกิดความลุ่มหลง รวมไปถึงสามารถลบเลือนสติปัญญาของบุคคลผู้ที่ฉลาดให้กลายเป็นคนโฉดเขลาไปได้ในทันที และเจ้าแม่ก็จะคอยดูถูกและหัวเราะเยาะเย้ยผู้คนที่ตกอยู่ในอำนาจของเจ้าแม่อยู่เสมอด้วย
    ต้นกำเนิดของเทวีอโฟร์ไดค่อนข้างยาวนาน โดยอาจจะเลยไปไกลกว่าตำนานของกรีกเสียอีก ทั้งนี้ก็เพราะเทวีอโฟรไดมีต้นกำเนิดมาจากดินแดนทางซีกโลกตะวันออก และถือกันว่าเจ้าแม่องค์นี้เป็นเทวีองค์แรกเริ่มของชนชาติฟีนีเซีย ที่เข้ามาตั้งรกรากอาณานิคมอย่างมากมายในดินแดนตะวันออกกลาง ตามตำนานที่เล่ากันมาบอกเอาไว้ว่าเจ้าแม่ถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทวีของชาวอัสสิเรียและบาบิโลเนีย ที่มีชื่อเรียกว่า อีชตาร์ (Ishtar) และก็ยังคงถือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเทวีของชาวไซโร-ฟีนิเซี่ยน ที่มีชื่อเรียกว่า แอสตาร์เต (Astarte) อีกด้วย ด้วยเหตุผลที่กล่าวมานี้ จึงทำให้เทวีอโฟรไดถือเป็นเทวีที่มีความสำคัญอย่างมากมาแต่ครั้งบรรพกาล
    ตำนานมหากาพย์อิเลียดของโฮเมอร์ ยกย่องนับถือให้เทวีอโฟรไดเป็นเทพธิดาของซูส และมีมารดาเป็นนางอัปสรไดโอนี (Dione) แต่บทกวีนิพนธ์ที่พบเจอในชั้นหลัง ๆ กลับกล่าวว่า เทวีอโฟรไดเกิดขึ้นมาจากฟองทะเล เนื่องจากคำว่า Aphros ที่เป็นส่วนหนึ่งของชื่อของชื่อเจ้าแม่มีความหมายในภาษากรีกว่า ฟอง” ดังนั้น จึงมีความเชื่อกันต่อมาว่า แหล่งกำเนิดของเจ้าแม่น่าจะอยู่ในทะเลแถบเกาะไซเธอรา (Cythera) ต่อจากนั้น เจ้าแม่ก็ถูกคลื่นซัดพาตัวมาจนถึงเกาะไซพรัส (Cyprus) ทำให้เกาะทั้งสองแห่งนี้กลายเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับเจ้าแม่ และบางครั้งก็ทำให้เจ้าแม่มีชื่อเรียกอีกสองชื่อตามชื่อเกาะทั้งสองแห่งนี้ว่า ไซเธอเรีย (Cytherea) และ ไซเพรียน (Cyprian)
    จากที่บอกไปแล้วว่า เทวีอโฟรไดท์ถูกคลื่นพัดพาร่างไปติดบนเกาะไซพรัส ซึ่งในขณะนั้นก็มีฤดูเทวืผู้รักษาทวาร แห่งเขาโอลิมปัสช่วยลงมารับพาตัวเจ้าแม่เดินทางขึ้นไปยังเทพสภาเมื่อไปถึงเทพสภา เทพทุกองค์ต่างตกตะลึงใน ความงามของเจ้าแม่เป็นอย่างมาก และทุกองค์ก็ต่างหมายปองอยากได้เจ้าแม่อโฟรไดท์มาเป็นคู่ครอง ไม่เว้นแม้แต่เทพซูส ที่ก็มีความหวังอยากที่จะได้ตัวเจ้าแม่เช่นกัน แต่เนื่องจากเจ้าแม่นั้นไม่ยินดีจะมาเป็นชายาด้วย ทำให้ไท้เธอโปรดประทานเจ้าแม่อโฟรไดท์ให้แก่ฮีฟีสทัส (Hephaestus) ผู้เป็นเทพรูปทรามที่มีรูปร่างไม่สมส่วน และมีบาทแปเป๋ ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการบำเหน็จรางวัลที่ฮีฟีสทัสประกอบความดีความชอบในการถวายอสนียบาต และก็ถือเป็นการลงโทษเจ้าแม่ฮีฟีสทัสที่ไม่แยแสในตัวซูสไปด้วยในเวลาเดียวกัน
    แต่อย่างไรก็ตาม เทพองค์แรกที่เจ้าแม่ฮีฟีสทัสร่วมพิศวาสอภิรมย์ด้วย กลับเป็น เทพเอรีส (Ares) หรือ มาร์ส (Mars) ซึ่งถือเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และเป็นเทพบุตรของซูสเทพบดีกับเจ้าแม่ฮีรา โดยทั้งคู่ได้เป็นแอบคบชู้กัน และทำให้เทวีอโฟรไดท์ให้กำเนิดบุตรสององค์กับธิดาหนึ่งองค์ออกมา โดยลูกๆของเทวีอโฟรไดท์มีชื่อว่า อีรอส (Eros) หรือ คิวพิด (Cupid)’ ‘แอนติรอส (Anteros)’ และ เฮอร์ไมโอนี (Hermione) หรือ ฮาร์โมเนีย (Harmonia)’ ตามลำดับ โดยนางเฮอร์ไมโอนีได้แต่งงานกับแคดมัส (Cadmus) ผู้ที่ทำหน้าที่สร้างเมืองธีบส์ขึ้นมา และเขายังเป็นพี่ชายของนางยุโรปา ผู้ที่ถูกซูสลักพาไป ดังที่เคยได้เล่ากล่าวมาแล้วในตอนต้น
    เรื่องราวความรักของเทวีอโฟร์ไดท์ผู้เป็นเทพีแห่งความงามยังไม่จบลงเพียงเท่านี้ เพราะด้วยความงดงามของเจ้าแม่ ทำให้เธอเที่ยวหว่านเสน่ห์ไปยังเทพหรือมนุษย์ไปทั่ว ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เทวีอโฟรไดท์ไปมีสัมพัทธ์เสน่หากับเทพเฮอร์มีส จนให้กำเนิดโอรสองค์หนึ่งที่มีชื่อว่า เฮอร์มาโฟร์ดิทัส (Hermahroditus) ออกมา  ส่วนในด้านความสัมพันธ์กับมนุษย์ธรรมดา เทวีอโฟร์ไดก็ยังเคยแอบไปมีสัมพันธ์แนบชิดกับบุรุษเดินดิน ยกตัวอย่างเช่น ตอนที่เทวีอโฟรไดท์แอบไปชอบพอกับเจ้าชายแอนคิซีส (Anchises) ชาวโทรยัน  จนให้กำเนิดโอรสครึ่งเทพครึ่งมนุษย์ออกมา ให้ให้ชื่อว่า เอนิแอส(Aenias) ซึ่งเขาผู้นี้ถือเป็นต้นตระกูลของชาวโรมันทั้งหมด และเรื่องที่โด่งดังอื้อฉาวมากที่สุด ก็คงจะเป็นเรื่องที่เทวีอโฟรไดท์แอบไปหลงรักกับอโดนิสผู้มีหน้าตาหล่อเหลาแห่งยุค ตามเรื่องราวที่จะเล่าดังต่อไปนี้
        วันหนึ่ง ในขณะที่เจ้าแม่อโฟรไดท์กำลังเล่นหยอกล้ออยู่กับอีรอส ก็บังเอิญถูกศรของอีรอสสะกิดโดนที่อุระ และถึงแม้ว่าอุบัติเหตุครั้งนี้จะทำให้เกิดเป็นแผลเพียงเล็กน้อย แต่ด้วยอำนาจของพิษศรก็มากเพียงพอที่จะทำให้เจ้าแม่เกิดความผิดปกติด้วยอำนาจนี้ได้  และยังไม่ทันที่แผลจะหายดี เจ้าแม่ก็ได้บังเอิญพบกับ อโดนิส (Adonis) ผู้เป็นชายหนุ่มที่ร่อนเร่พเนจรอยู่ในป่า ด้วยอำนาจของศรอีรอสทำให้เจ้าแม่บังเกิดความพิสมัยในตัวของอโดนิส จนห้ามใจไว้ไม่อยู่ เจ้าแม่จึงรีบลงมาจากสวรรค์เพื่อมาตามหาอโดนิส เพื่อหวังที่จะได้ใกล้ชิดสนิทสนมกันไปตลอด ไม่ว่าอโดนิสจะไปทางไหน เจ้าแม่อโฟรไดท์ก็จะติดตามไปด้วยทุกทาง ด้วยความที่เทวีอโฟรไดท์รู้สึกหลงใหลและเป็นห่วงอโดนิสเอามากๆ จนไม่เป็นอันระลึกถึงสถานแห่งหนึ่งแห่งใดที่เคยโปรด ทำให้เทวีอโฟรไดท์เที่ยวติดตามอโดนิสไปในป่าตลอดเวลา แถมยังคอยตักเตือน พะเน้าพะนอเอาใจ และกำชับอโดนิสในการล่าสัตว์ทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เขาเสี่ยงภัยอันตรายมากเกินไป และยังบอกให้หลีกเลี่ยงสัตว์ใหญ่ และให้เขาล่าแต่สัตว์ตัวเล็กๆเท่าที่จะพอล่าได้เท่านั้น แต่ความรักครั้งนี้ของเจ้าแม่ที่มีต่ออโดนิสกลับเป็นความรักเพียงข้างเดียว เพราะเจ้าหนุ่มโดนิสไม่ได้มอบความรักตอบแก่เจ้าแม่เสียเลย ซึ่งคงเป็นเพราะอีรอสไม่ได้แผลงศรรักปักเข้าที่ชายหนุ่มด้วยละมั้ง ทำให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ และด้วยเหตุผลที่อโดนิสไม่ได้รักเทวีอโฟรไดท์ตอบ จึงทำให้เขาไม่แยแสสนใจในคำกำชับตักเตือนของเจ้าแม่เลย และยังคงเที่ยวล่าสัตว์ใหญ่น้อยไปเรื่อยตามความต้องการของตน
    ในวันหนึ่ง ขณะที่เจ้าแม่อโฟรไดท์จำเป็นต้องจากอโดนิสไปเพราะมีธุระ เจ้าแม่จึงทรงหงส์เหินบินเหาะไปในอากาศ ส่วนฝ่ายอโดนิสก็เดินทางไปล่าสัตว์ตามปกติ และได้พบกับหมูป่าแสนดุร้ายตัวหนึ่ง (บางตำนานเล่ากันว่า เทพเอเรสเสกหมูป่าตัวนี้ขึ้นมา เนื่องจากความหึงหวงในตัวของเทวีอโฟรไดท์ที่มีให้ต่ออโดนิส) เขาจึงตามล่าหมูป่าไปจนมันจนมุม ก่อนที่อโดนิสจะซัดหอกไปถูกร่างของหมูป่า แต่โชคร้ายที่หอกไม่ได้ปักเข้าที่ตำแหน่งสำคัญ จึงทำให้หมูป่าได้รับความเจ็บปวดและทวีความโหดร้ายมากขึ้น หมูป่าจึงตรงจึงรี่เข้าขวิดจนอโดนิสถึงแก่ความตายในที่สุด
    เมื่อเจ้าแม่อโฟรไดท์ได้ยินเสียงร้องของอโดนิสขณะที่อยู่กลางอากาศ เจ้าแม่ก็ตัดสินใจชักรถเทียมหงส์กลับทันที เพื่อที่จะลงมายังพื้นปฐพีและรีบตรงปรี่เข้าหาอโดนิสทันที เจ้าแม่ก้มลงจุมพิตอโดนิสที่กำลังจะขาดใจตายด้วยความเจ็บปวด พร้อมทั้งครวญคร่ำรำพึงพันด้วยความรักสุดแสนอาลัย และทึ้งเกศาข้อนทรวงทำอาการต่าง ๆ ตามแบบที่ผู้คลุ้มคลั่งมักทำกัน เจ้าแม่รู้สึกว่าตนเองช่างโชคร้าย และรำพึงรำพันต่อเทวีครองผู้ครองชะตากรรม ว่าเหตุใดจึงต้องพลัดพลาดชายผู้เป็นที่รักของนางไป ความเจ็บช้ำครั้งนี้คล้ายกับการควักเอาดวงเนตรของเจ้าแม่ออกไปก็ไม่ปาน
    หลังจากที่ความโศกเศร้าเริ่มจางหายไปแล้ว เจ้าแม่ก็เอื้อนเอ่นตั้งปณิธานขึ้นมาว่า ถึงการณ์ดังนั้นก็อย่าคิดเลยว่า ผู้เป็นที่รักของข้าจะต้องอยู่ในยมโลกตลอดกาล หยาดโลหิตของอโดนิสผู้เป็นแก้วตาของข้า จงกลายเป็นบุปผชาติชนิดหนึ่ง เพื่อแสดงถึงความโศกเศร้าของข้า และให้ข้าได้ระลึกถึงเหตุการณ์อันเศร้าสลดครั้งนี้เป็นประจำปีเถิด”  หลังจากเอ่ยปณิธานออกไปดังนั้นแล้ว เจ้าแม่ก็ปะพรมน้ำต้อยเกสรอันศักดิ์สิทธิ์ลงไปบนเม็ดเลือดของอโดนิส และทันใดนั้นเอง ก็ปรากฏเป็นพันธุ์ไม้ที่มีดอกสีแดงดั่งสีทับทิมผุดขึ้นมา และดอกไม้นั้นก็ถูกเรียกชื่อสืบต่อกันมาว่า ดอกอโดนิส หรือ ดอกเออะเนมโมนิ (Anemone)”  ที่มีความหมายว่า ดอกตามลม (หรือบางตำนานก็ว่าเป็นดอกกุหลาบนั่นเอง) ซึ่งมีเหตุผลมาจากธรรมชาติของลมที่ทำให้ดอกไม้ดอกนี้สามารถแย้มบานได้ และก็จะต้องมีช่วงเวลาที่พัดกลีบให้ร่วงหล่นไป ทำให้มีอายุอยู่ได้เพียงไม่นานแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น
แรกเริ่มเดิมทีก่อนที่เทพีอโฟรไดท์ จะกลายมาเป็นเทวีแห่งความงามและความรัก เจ้าแม่เคยเป็นเทวีแห่งความสมบูรณ์มาก่อน โดยกล่าวกันว่าเมืองที่เคารพเจ้าแม่มากที่สุดมีชื่อว่า เมืองปาฟอสในไซปรัสและเมืองไซธีรา ซึ่งตั้งอยู่ในเกาะครีต นอกจากนั้น ยังมรวิหารที่มีชื่อเสียงด้านความโอ่อ่างดงามที่มากที่สุดซึ่งตั้งอยู่ที่ซีกโลกตะวันออกอันมีชื่อว่า วิหารที่เมืองคนิดุสในรัฐแคเรีย (Caria) ที่วิหารแห่งนี้มีเทวีเอเธน่าเป็นเทพผู้คุ้มครองอยู่บนเนินอโครโปลิส และมีผู้นับถือศรัทธาเดินทางมาสักการะเป็นจำนวนมาก
    จากที่กล่าวไปแล้วว่า อโฟรไดท์เป็นเทวีที่มนุษย์ชาวกรีกและโรมันโบราณให้การนับถือ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากที่สุด เนื่องด้วยความรักและความงดงามเป็นสิ่งที่สามารถจับใจคนให้หันมาให้ความสนใจใคร่รู้ได้มากกว่าเรื่องอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้เอง เจ้าแม่เทพีอโฟรไดท์จึงมักจะถูกเทิดทูนบูชา และเป็นที่กล่าวขวัญในศิลปะและวรรณคดีต่าง ๆมากมาย  มากไปกว่านั้น ยังมีความเชื่อชองชาวกรีกและชาวโรมันว่า เจ้าแม่เป็นเทวีผู้มีลูกดกและเป็นเทวีแห่งการให้กำเนิดทารก ทำให้มีคติความเชื่อโบราณประการหนึ่งของชาวตะวันตกที่เล่าขานสืบต่อกันมาปากต่อปากมาจนล่วงเลยมาถึงในปัจจุบันนี้ว่า ทารกถือกำเนิดเพราะนกกระสานำมา และคติความเชื่อนี้ก็สืบเนื่องมาจากข้อยึดถือของมนุษย์ชาวกรีกและ โรมันมาตั้งแต่บรรพกาลเช่นกัน
    นกกระสามีความสำคัญตามเทพนิยาย นิทานชาวบ้าน และนิทานเทียบสุภาษิตต่าง ๆมากมาย โดยในตำนานเทพปกรณัม ได้กล่าวไว้ว่า นกกระสาถือเป็นนกประกอบบารมีของเทวีอโฟรไดท์ หากบ้านใดที่มีนกกระสาผัวเมียไปทำรังอยู่บนยอดหลังคา ก็จะมีความหมายว่า เจ้าแม่อโฟรไดท์เสด็จไปโปรดให้ครอบครัวนั้นๆกำเนิดลูก และยังความรุ่งเรืองมาให้แก่ครอบครัวนั้น ในแถบยุโรปโดยเฉพาะภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ก็มีการให้ความเคารพนกกระสาเช่นกัน ส่วนในประเทศเยอรมันและเนเธอร์แลนด์ ก็ถือว่านกกระสาเป็นตัวแทนของโชคลาภที่จะเข้ามาสู่ตน ดังนั้นชาวเยอรมันและวิลันดาจึงมีความยินดีที่จะให้นกกระสาสามารถบินมาทำรังบนหลังคาบ้านของตนได้เสมอ ยิ่งนกเหล่านั้นอาศัยอยู่นานเพียงใด ก็ยิ่งถือเป็นมงคลให้แก่บ้านหลังนั้นนานมากขึ้น
    ตั้งแต่หลายศตวรรษที่ผ่านมา ชาวยุโรปทั่วๆไปมีความเชื่อสืบทอดกันมาว่า เมื่อบ้านหนึ่งบ้านใดที่กำลังจะให้กำเนิดเด็กแรกเกิด เจ้าแม่อโฟรไดท์จะสั่งให้นกกระสามาบินวนเวียนอยู่เหนือหลังคาบ้านนั้น ซึ่งคติความเชื่อนี้ก็ถูกตีความกันต่อไปว่า หากนกกระสาได้มาบินวนเวียนเหนือบ้านที่กำลังจะมีเด็กเกิด เด็กคนนั้นจะสามารถคลอดออกจากครรภ์มารดาได้โดยง่าย และสามารถอยู่รอดปลอดภัยด้วย แต่ความจริงแล้ว คติความเชื่อนี้ก็เป็นเพียงข้ออ้างที่พ่อแม่ใช้ในการตอบคำถามลูกๆตอนโต  ว่าน้องเล็กของตนนั้นเกิดมาได้อย่างไร หรือเกิดมาจากอะไรเพียงเท่านั้น
    เทวีอโฟร์ไดท์มีพฤกษาประจำองค์เป็นต้นเมอร์เทิล มีสัตว์เลี้ยงประจำองค์เป็นนก ซึ่งบ้างก็ว่าเป็นนกเขา ในขณะที่บ้างก็ว่าเป็นนกกระจอก หรือหงส์ ตามแต่ที่กวีจะจินตนาการอยากให้เป็น
                                                                                              13.เทพแพน (Pan)

    ในบรรดาเทพทั้งหลายในวงศ์โอลิมเปี้ยน มีเทพอยู่องค์หนึ่งที่มีลักษณะไม่เหมือนกับทวยเทพองค์อื่นๆ เพราะเทพองค์นี้มีร่างกายที่เป็นกึ่งมนุษย์กึ่งสัตว์ เธอมีชื่อว่า เทพแพน” นั่นเอง อย่างไรก็ตาม เทพองค์ดังกล่าวก็ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นเทพองค์หนึ่งในสวรรค์ชั้นโอลิมปัส
    แพน (Pan) เป็นเทพผู้เป็นหลานของซูสเทพบดี เพราะเธอเป็นโอรสของเทพเฮอร์มีส กับนางพรายน้ำตนหนึ่ง ว่ากันว่า แพนเป็นเทพแห่งทุ่งโล่งและดงทึบ หรืออาจเรียกว่าเป็น เทพแห่งธรรมชาติทั้งปวงก็ได้ นอกจากนี้ คำว่า แพน” ในภาษากรีกก็ยังมีความหมายว่า “All” ที่แปลถึงทั้งหลายหรือทั้งปวงนั่นเอง
หากกล่าวถึงรูปลักษณ์ของเทพองค์นี้ ก็พบว่ามีรูปร่างที่ผิดแปลกไปจากเทพองค์อื่น ๆ ที่มักจะมีรูปสวยสง่างาม  เทพแพนเป็นเทพที่มีลักษณะผสมระหว่างมนุษย์กับสัตว์ โดยเทพแพนมีร่างกายและหน้าตาที่เป็นมนุษย์ แต่อวัยวะท่อนล่างกลับเป็นแพะ อีกทั้งยังมีเขาปรากฎอยู่บนศีรษะและมีหนวดเคราเช่นแพะด้วย
    ตำนานเล่าเกี่ยวกับประวัติของเทพแพนไว้น่าสนใจยิ่ง กล่าวคือ เมื่อครั้งหนึ่งที่แพนได้ไปพบเห็นนางพรายน้ำตนหนึ่งที่มีชื่อว่า ไซรินซ์ (Syrinx) เข้า แพนก็เกิดความรู้สึกถูกชะตาและถูกใจเป็นอย่างมาก แพนจึงติดตามพรายน้ำตนนั้นไปด้วยความรัก แต่นางพรายน้ำตนนั้นกลับไม่ยินดีที่จะร่วมรักด้วย เนื่องจากเกรงกลัวในรูปร่างแปลกประหลาดของเทพแพน นางพรายน้ำจึงวิ่งหนีเตลิดไป แพนก็เองก็ยังไม่ลดละความพยายาม และออกไล่ตามหานางพรายน้ำจนมาถึงริมน้ำ เมื่อนางพรายน้ำเห็นว่าน่าจะหนีเทพแพนไม่พ้น จึงได้ตะโกนออกไปเพื่อขอความช่วยเหลือจากเทพแห่งท้องธาร
    คำร้องของนางพรายน้ำสัมฤทธิ์ผล เพราะเทพแห่งท้องธารรู้สึกสงสารในตัวนาง จึงได้ดลบันดาลให้นางพรายน้ำกลายเป็นต้นอ้อที่ประดับอยู่ ณ ริมฝั่งน้ำ เมื่อเทพแพนมาถึงที่บริเวณนี้และได้รู้ความจริงว่านางพรายน้ำคิดจะปฏิเสธตนเช่นนี้ ก็รู้สึกโศกเศร้าเป็นหนักหนา เทพแพนจึงได้ตัดเอาต้นอ้อต้นนั้น มามัดเข้าด้วยกัน และใช้เป็นเครื่องดนตรีเพื่อเป่าบรรเลงอย่างไพเราะสืบมา

ความคิดเห็น